วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทบาทของผู้บริหารในการนำระบบสมรรถนะมาใช้ (Executive Role for Competency Implementation)


  • ศึกษาแนวคิด หลักการ เกี่ยวกับระบบสมรรถนะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
  • ให้ข้อมูลกับคณะที่ปรึกษาฯ หรือคณะทำงานในการกำหนดสมรรถนะองค์กร สมรรถนะหลัก และสมรรถนะตามสายวิชาชีพ (Core & Functional Competency)
  • ร่วมจัดทำการเทียบวัดสมรรถนะหรือมาตรฐานของความสามารถของผู้ดำรงตำแหน่ง (Job competency Mapping) ของผู้ใต้บังคับบัญชา
  • ประเมินสมรรถนะของตนเองและสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
  • ร่วมกำหนดแนวทางในการนำระบบสมรรถนะไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้าน ต่างๆ เช่น การสรรหาและคัดเลือก การวางแผนความก้าวหน้า ฯลฯ
  • ให้ความเห็นในการกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามระบบสมรรถนะ (Competency Development Roadmap)
  • สื่อสารและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบสมรรถนะแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล และช่วย พัฒนาสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
  • วางแผนร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual development Plan) ของผู้ใต้บังคับบัญชา ภายหลังการทำGAP Analysis
  • มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา (Coaching, OJT, Work Shadowing, Mentoring, Project Assignment)
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการนำระบบสมรรถนะมาใช้ในองค์กร

ขั้นตอนการกำหนดและพัฒนาระบบสมรรถนะ (Competency Development Model)


Competency Development Model
Competency Development Model
การกำหนดและพัฒนาระบบสมรรถนะขององค์กร ทำได้หลายวิธี เช่น ว่าจ้างที่ปรึกษา ให้มาช่วยดำเนินการจัดทำระบบสมรรถนะ หรือแต่งตั้งคณะทำงานภายในขึ้นมาศึกษาและ ร่วมกันพัฒนาก็ได้ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน ในที่นี้จะขอนำเสนอขั้นตอนการกำหนด และพัฒนาระบบสมรรถนะที่เป็นรูปธรรม และคิดว่ามีประสิทธิผล จึงขอเสนอขั้นตอนการ พัฒนาระบบสมรรถนะ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : การเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบสมรรถนะ (Competency Kick-off)

เริ่มด้วยขั้นตอนการเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบสมรรถนะ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญ มาก โดยองค์กรควรเชิญทีมงานที่ปรึกษาหรือวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบ สมรรถนะ มาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดของระบบสมรรถนะและแผนการดำเนินงาน ของโครงการ แก่ผู้บริหารระดับต้น – สูง วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้ก็เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับ ทุกคนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมรรถนะความสำคัญ และประโยชน์ รวมทั้งแผนการดำเนินงานของโครงการ และคาดหวังว่าผู้บริหารทุกท่านจะไปถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบ สามารถตอบคำถามหรือข้อสงสัยในเบื้องต้นได้ รวมทั้งสามารถให้ความเห็น/ข้อเสนอแนะในการ พัฒนาระบบสมรรถนะได้อย่างถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายควรเป็นผู้บริหารตั้งแต่ ระดับหัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย รองผู้อำนวยการ/รองคณบดี จนถึงผู้บริหารระดับสูง และ คณะทำงานพัฒนาระบบสมรรถนะ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษารวบรวมข้อมูลปัจจุบันขององค์กร (Organization Investigation and Diagnosis)

ทีมที่ปรึกษาและคณะทำงานฯ ศึกษารวบรวมข้อมูลปัจจุบันขององค์กรเกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์การบริหารงาน วัฒนธรรมองค์กร ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล สมรรถนะที่ผู้บริหารคาดหวังจากบุคลากร และข้อมูลทั่วๆ ไป โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร คู่มือ Website สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง การใช้แบบสอบถามกับบุคลากรระดับต่างๆ ขององค์กร รวมทั้งศึกษาระบบสมรรถนะจากสถาบันองค์กรคู่แข่ง หรือองค์กรที่มีโครงสร้างภารกิจการ ดำเนินงานคล้ายคลึง/ใกล้เคียงกับองค์กรของเรา เพื่อนำมาวิเคราะห์และเป็นแนวทางในการให้ คำปรึกษาและกำหนดสมรรถนะของบุคลากรให้ถูกต้อง เหมาะสม และท้าทายมากขึ้น เมื่อ เปรียบเทียบกับองค์กรต่างๆ

ขั้นตอนที่ 3: การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบสมรรถนะ (Competency Workshop)

ในขั้นตอนนี้ควรมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบสมรรถนะขององค์กร เชิญ ผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่หัวหน้า/ผู้อำนวยการ/คณบดี ขึ้นไปมาร่วมกำหนดสมรรถนะองค์กร (Organizational Competency) และค้นหาสมรรถนะหลัก (Core Competency) ทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารระดับสูงจะทราบวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ทิศทางนโยบาย และเป้าหมายในการ ดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างดี จึงกำหนดสมรรถนะขององค์กรได้ ชัดเจนและตรงประเด็นมากกว่าบุคลากรกลุ่มอื่นๆ เมื่อกำหนดสมรรถนะองค์กรและสมรรถนะ หลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรกำหนดสมรรถนะตามสายวิชาชีพ (Functional Competency) ทั้งสมรรถนะร่วม และสมรรถนะเฉพาะทางของแต่ละสายวิชาชีพ (Common & Specific Functional Competency) โดยกลุ่มเป้าหมายควรเป็น Key Persons ที่เป็นตัวแทนจาก สายวิชาชีพต่างๆ

ขั้นตอนที่ 4: การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบสมรรถนะ (Competency Development& Coaching)

ภายหลังจากจบการประชุมเชิงปฏิบัติการแล้ว คณะที่ปรึกษา/วิทยากรควรมอบหมายให้ คณะทำงานแต่ละสายวิชาชีพกลับไปปรับปรุง และพัฒนาสมรรถนะตามสายวิชาชีพของตน ประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อเตรียมกลับมาร่วมพัฒนากับทีมที่ปรึกษา/วิทยากร หลังจากนั้นคณะที่ ปรึกษา/วิทยากรควรให้คำปรึกษาและชี้แนะ (Competency Consulting &Coaching) การพัฒนา สมรรถนะในแต่ละวิชาชีพให้ถูกต้องและมีความสมบูรณ์มากขึ้นพร้อมกับการเทียบสมรรถนะตาม สายวิชาชีพกับตำแหน่งงาน (Functional Competency Mapping with Job Position)

ขั้นตอนที่ 5: การรวบรวมและจัดทำพจนานุกรมสมรรถนะ (Competency Profile & Dictionary)

คณะที่ปรึกษาและคณะทำงานพัฒนาระบบสมรรถนะขององค์กร ร่วมกันทบทวนสมรรถนะ หลักขององค์กร การจัดทำพจนานุกรมสมรรถนะแต่ละตัว (คำอธิบายรายละเอียดพฤติกรรมเพิ่มเติม วิธีการประเมินผลและแนวทางการพัฒนา) และจัดทำการเทียบสมรรถนะหลักกับตำแหน่งงาน (Core Competency Mapping with Job Position) โดยพิจารณาว่าแต่ละตำแหน่งควรจะมีระดับ ความสามารถมาตรฐานอยู่ในระดับใด คณะที่ปรึกษาฯ รวบรวมสมรรถนะทั้งหมด และจัดทำคู่มือ พจนานุกรมสมรรถนะขององค์กร (Competency Dictionary) เพื่อจัดเป็นหมวดหมู่สมรรถนะและใช้ เป็นมาตรฐานกลางเผยแพร่ให้บุคลากรทุกหน่วยงานรับทราบ ตลอดจนขออนุมัติใช้ระบบสมรรถนะ ขององค์กรจากผู้บริหารระดับสูง

ขั้นตอนที่ 6 : การสื่อสารและการประเมินสมรรถนะข้าราชการ (Communication & Competency Assessment)

ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วกล่าวคือ เมื่อพัฒนาระบบสมรรถนะเสร็จแล้วจะต้องทำการสื่อสารหรือถ่ายทอดระบบสมรรถนะให้กับ บุคลากรทุกคนรับทราบรายละเอียดของระบบสมรรถนะ ตั้งแต่แนวคิดหลักการ ประโยชน์ของ สมรรถนะ ขั้นตอนการพัฒนา พจนานุกรมสมรรถนะ วิธีการประเมินสมรรถนะ และนโยบายการนำ ระบบสมรรถนะไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นประโยชน์ และให้ความร่วมมือในการนำไปใช้ในการวัดประเมิน และพัฒนาสมรรถนะ ของตนเอง เมื่อสื่อสารให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจแล้วก็ทำการประเมินสมรรถนะ บุคลากรเป็นรายบุคคล และจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม สมรรถนะ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการกำหนดสมรรถนะ

  • การกำหนดสมรรถนะนั้นเราต้อง มุ่งที่อนาคต มิใช่เครื่องมือที่ Cloningความสำเร็จจากอดีต
  • ควรศึกษาและวิเคราะห์องค์กรก่อน และควรนำจุดอ่อนขององค์กรมากำหนดเป็นสมรรถนะ สิ่งที่เป็นจุดแข็งก็ควรนำมากำหนดเช่นเดียวกันเพื่อเสริมและรักษาจุดแข็งให้คงอยู่
  • การกำหนดสมรรถนะต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรม องค์กร ภารกิจ และลักษณะงานขององค์กร
  • สมรรถนะที่กำหนดขึ้นมานั้นต้องไม่ง่ายเกินไป หรือยากเกินไป ต้องมีลักษณะที่ท้าทายความสามารถของบุคลากรให้ทำพฤติกรรมนั้นๆ
  • ต้องกำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดพฤติกรรมต้องแสดงพฤติกรรม หรือความสามารถที่สูงกว่า/โดดเด่นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
  • บุคลากรควรมีส่วนร่วมในการกำหนดสมรรถนะเพื่อให้เกิด Commitment และความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Ownership)
  • สมรรถนะที่กำหนดขึ้นมาแล้วควรปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ประเภทของสมรรถนะในการทำงาน


1. สมรรถนะหลัก (Core Competency: CC) หมายถึงทักษะ และคุณลักษณะที่ทุก คนในองค์กรจำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะ หลักประกอบไปด้วย
  • รหัส ชื่อสมรรถนะหลัก
  • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation-ACH)
  • บริการที่ดี (Service Mind-SERV)
  • ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork-TW)
  • จริยธรรม (Integrity-ING)
  • การสั่งสมความชำนาญในงานอาชีพ (Expertise-EXP)
2. สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency: FC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ วางไว้ สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ ประกอบไปด้วย
  • รหัส ชื่อสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่
  • การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking-AT)
  • การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking-CT)
  • การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking-INF)
  • ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity-CS)
  • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal Understanding-IU)
  • การดำเนินการเชิงรุก (Proactiveness-PROAC)
  • ความถูกต้องของงาน (Concern for Order-CO)
  • ความมั่นใจของตนเอง (Self Confidence-SCF)
  • ความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexibility-FLX)
  • ศิลปะการสื่อสารจูงใจ (Communication & Influencing-CI)
  • สุนทรียภาพทางศิลปะ (Aesthetic Quality-AQ)
  • การประสานงาน (Coordination-COOR)
  • การวางแผน (Planning-PLAN)
  • การติดตามงาน (Follow up-FO)
  • การเจรจาต่อรอง (Negotiation-NE)
  • การแก้ปัญหา (Problem Solving-PS)
  • การให้คำปรึกษา (Consultation-CONSULT)
  • การบริหารงานวิจัย (Research Management-RM)
  • การบริหารโครงการ (Project Management-PM)
  • การบริหารงบประมาณ (Budget Management-BM)
  • ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Literacy-ENG)
  • ความสามารถในการใช้อุปกรณ์ IT (IT Literacy-IT)
  • ความสามารถในการจัดทำเอกสาร (Writing Literacy-WRITE)
3. สมรรถนะด้านการบริหาร (Management Competency: MC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีหน้าที่ในระดับ จัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ซึ่งสมรรถนะด้านการบริหาร ประกอบไปด้วย
  • รหัส ชื่อสมรรถนะด้านการบริหาร
  • วิสัยทัศน์ (Visioning-VI)
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management-CM)
  • การให้อำนาจผู้อื่น (Empowerment-EM)
  • การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management-PM)
  • การพัฒนาศักยภาพคน (Caring & Developing Others-DEV)
4. ความรู้ตามสายงาน (Job Competency: JC) หมายถึง ความรู้เฉพาะสายงานที่ จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ซึ่งความรู้ตามสายงาน ประกอบไปด้วย
  • รหัส ชื่อสมรรถนะตามสายงาน
  • ความรู้ด้านงานทรัพยากรบุคคล (Human Resources Knowledge)
  • การบริหารด้านงานสารสนเทศ (Information Technology Management)
  • ความรู้ด้านงานบัญชี (Accounting Knowledge)
  • ความรู้ในด้านงานคลังพัสดุและจัดซื้อ (Store and Purchasing Knowledge)

การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment)


การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) หมายถึง กระบวนการในการประเมิน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพฤติกรรมการทำงานของบุคคลในขณะนั้นเปรียบเทียบกับระดับ สมรรถนะที่องค์กรคาดหวังในตำแหน่งงานนั้นๆ ว่าได้ตามที่คาดหวังหรือมีความแตกต่างกันมาก น้อยเพียงใดการประเมินสมรรถนะควรมีลักษณะ ดังนี้
  • ประเมินอย่างเป็นระบบ (Systematic)
  • มีวัตถุประสงค์ในการประเมินอย่างชัดเจน (Objective)
  • เป็นกระบวนการที่สามารถวัดประเมินได้ (Measurable)
  • เครื่องมือมีความเที่ยง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Reliability)

การประเมินสมรรถนะในการทำงานและกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล

วัตถุประสงค์ของการประเมินสมรรถนะในการทำงาน

  1. เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรและเพื่อใช้ในการปรับปรุงงาน
  2. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
  3. เพื่อให้เห็นภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบและพัฒนาบุคลากร
  4. เพื่อให้บรรยากาศในการทำงานร่วมกันของบุคลากรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และร่วมกันพัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย
  5. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดี ความชอบประจำปีของพนักงาน

ผู้รับผิดชอบในการประเมินสมรรถนะ

ในการประเมินสมรรถนะ องค์กรจะต้องพิจารณาว่าจะให้ใครเป็นผู้ประเมินสมรรถนะ นั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความพร้อม และวัฒนธรรมขององค์กร เป็นต้น ผู้ที่สามารถ ประเมินสมรรถนะได้ มีดังนี้
  • ผู้บังคับบัญชาขั้นต้น (Immediate supervisor)
  • ผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinates)
  • เพื่อนร่วมงาน (Peers)
  • ประเมินตนเอง (Self-assessment)
  • ประเมินโดยลูกค้า (Customer assessment)
  • ประเมินโดยคณะกรรมการ (Committee)
การประเมินระบบสมรรถนะ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้วัดระดับความสามารถที่มีอยู่ จริงของบุคลากร เปรียบเทียบกับระดับของสมรรถนะที่องค์การคาดหวังในแต่ละตำแหน่งงาน ทั้งนี้การประเมินของแต่ละองค์กรนั้น อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำระบบ สมรรถนะมาใช้ และความพร้อมของบุคลากร ตลอดจนทรัพยากรและเวลาวิธีการประเมิน ระบบสมรรถนะ อาจแบ่งได้หลายรูปแบบ ดังนี้
  1. การประเมินโดยผู้บังคับบัญชา (Boss Assessment) เป็นเทคนิคการประเมิน สมรรถนะที่ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาฝ่ายเดียวเพราะเชื่อว่าผู้บังคับบัญชา จะรู้จักผู้ใต้บังคับบัญชามากที่สุด และต้องรับผิดชอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ข้อจำกัดคือ ผู้บังคับบัญชาอาจไม่เห็นพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา การประเมินจากผู้บังคับบัญชา ใกล้ชิดแต่เพียงฝ่ายเดียวอาจไม่สามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และอาจมีความ เอนเอียงหรืออคติกับลูกน้องบางคนได้
  2. การประเมินตนเองและผู้บังคับบัญชา (Self & Boss Assessment) เป็นเทคนิคการ ประเมินสมรรถนะที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและ ผู้บังคับบัญชาร่วมกันประเมิน มีการพูดคุย ปรึกษาหารือและตกลงร่วมกัน วิธีนี้ทำได้ง่าย ประหยัด ค่าใช้จ่าย แต่ข้อจำกัด คือบางครั้งผลการประเมินที่พนักงานประเมินกับผู้บังคับบัญชาอาจมีผล ประเมินไม่ตรงกัน ทำให้ตกลงกันไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งวิธีแก้ไข คือพนักงานและ ผู้บังคับบัญชาต้องบันทึกพฤติกรรมระหว่างช่วงเวลาการประเมินไว้ให้ชัดเจนและนำมาใช้ประกอบ ในช่วงการสรุประดับสมรรถนะร่วมกัน การประเมินตนเองและผู้บังคับบัญชา (Self & Boss Assessment) มีขั้นตอน ดังนี้
    1. ตัวบุคลากรประเมินสมรรถนะของตนเอง
    2. ผู้บังคับบัญชาประเมินสมรรถนะของบุคลากรที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
    3. ปรึกษาหารือและสรุป โดยความเห็นร่วมของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
    4. คณะกรรมการบุคคลของแต่ละหน่วยงาน/องค์กร ให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
    5. ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายทรัพยากรบุคคลของแต่ละหน่วยงาน/องค์กรให้การดูแลพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตามความคาดหวังขององค์กร
    ข้อจำกัดของวิธีนี้ก็คือ การประเมินตนเอง ผู้ประเมินมักจะประเมินตนเองสูงกว่าความเป็นจริง หรือสูงกว่าที่ผู้บังคับบัญชาประเมินให้ และผู้บังคับบัญชาก็มักจะประเมินสมรรถนะของลูกน้องต่ำ กว่าความเป็นจริง และมักมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อมาปรึกษาหารือสรุปร่วมกับผู้บังคับบัญชา แนว ทางแก้ไขคือ ผู้บังคับบัญชาจะต้องบันทึกพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชา ในช่วงประเมินไว้เป็นหลักฐานขณะเดียวกัน ผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะต้องบันทึกพฤติกรรมต่างๆ ที่ เกี่ยวกับสมรรถนะของตนไว้เป็นหลักฐานเช่นเดียวกันและนำมาใช้ยืนยันในช่วงปรึกษาหารือและ สรุปสมรรถนะร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้บังคับบัญชาควรมีทักษะในการให้คำปรึกษาที่ดีแก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา
  3. การประเมินโดยใช้แบบทดสอบ (Test : Knowledge & Skill) เป็นเทคนิคการ ประเมินสมรรถนะโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้หรือทักษะตามสมรรถนะที่กำหนด เช่นแบบ ปรนัยเลือกตอบ แบบอัตนัยโดยให้ผู้เข้าทดสอบเขียนอธิบายคำตอบ แบบทดสอบประเภทนี้ ออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถของบุคคล (Can do) ภายใต้เงื่อนไขของการทดสอบ ตัวอย่าง ของแบบทดสอบประเภทนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางสมองโดยทั่วไป (General Mental Ability) แบบทดสอบที่วัดความสามารถเฉพาะ เช่นSpatial Ability หรือความเข้าใจ ด้านเครื่องยนต์กลไก และแบบทดสอบที่วัดทักษะ หรือความสามารถทางด้านร่างกาย เป็นต้น
  4. การประเมินพฤติกรรมจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สำคัญๆ (Critical Incident) เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะที่มุ่งเน้นให้ผู้ประเมินพฤติกรรมบันทึกพฤติกรรมหลักๆ จาก เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผู้ถูกประเมินแสดงพฤติกรรมและนำมาเปรียบเทียบกับระดับสมรรถนะ ที่คาดหวัง ว่าสูงหรือต่ำกว่า
  5. การเขียนเรียงความ (Written Essay) เป็นวิธีการประเมินที่ง่ายที่สุด โดยให้ผู้ถูกประเมิน เขียนบรรยายผลการปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า ตนใช้ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมอะไรบ้าง หลังจากนั้นผู้ประเมินจะวิเคราะห์พฤติกรรมจากเรียงความว่าผู้ถูกประเมินมีสมรรถนะแต่ละตัวอยู่ ระดับใด
  6. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิคที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมินทำการ สัมภาษณ์ผู้ใต้บังคับบัญชาตามสมรรถนะที่กำหนด และประเมินว่าเขามีสมรรถนะอยู่ระดับใด การใช้ เทคนิคนี้มีข้อจำกัด คือต้องใช้เวลามากในกรณีที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากต้องเสียเวลามาก วิธีการนี้ เหมาะสำหรับใช้ในการสัมภาษณ์เพื่อเลื่อนตำแหน่งงาน หรือสัมภาษณ์คนเข้าทำงาน เป็นต้น
  7. การประเมินโดยใช้แบบสอบถาม (Rating Scale) เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะที่ สร้างแบบประเมินโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งแบบประเมินพฤติกรรมนี้สร้างได้หลายแบบ แบบ ที่นิยมกันแพร่หลายได้แก่แบบประเมินที่ใช้ความถี่หรือปริมาณกำหนดระดับ (Likert Scale)
  8. การประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Behaviorally Anchored Rating: BARS) เป็นเทคนิคการประเมินสมรรถนะที่มุ่งประเมินพฤติกรรมหลักที่คาดหวัง (Key Result Areas) ในสมรรถนะตัวนั้นๆ โดยแบ่งช่วงการให้คะแนนของแต่ละพฤติกรรมที่แสดงออกระหว่าง 1-9 ช่วงตามแนวดิ่งลงมา สำหรับผู้ประเมินอาจเป็นได้ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายเพื่อประเมินสมรรถนะของบุคลากร
  9. ประเมินแบบสามร้อยหกสิบองศา (360 Evaluation) การประเมินสมรรถนะแบบ 360 นี้ เป็นการประเมินโดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม (Rating Scale) หรือแบบประเมิน จากพฤติกรรม การปฏิบัติงาน (Behaviorally Anchored Rating : BARS) โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกประเมินเป็นผู้ ประเมินสมรรถนะ เช่น ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้า เป็นต้น และเมื่อทุกคนประเมิน เสร็จแล้วก็หาข้อสรุปว่าผู้ถูกประเมินมีสมรรถนะอยู่ในระดับใด ข้อดีของการประเมินแบบนี้ก็คือการ ประเมินโดยบุคคลหลายคนหลายระดับทำให้มีหลายมุมมอง ลดอคติจากการประเมินโดยบุคคลคน เดียว ข้อจำกัดคือมีภาระเอกสารจำนวนมาก บางครั้งผู้ประเมินมีความเกรงใจทำให้ประเมินสูงกว่า ความเป็นจริง หรือเกิดพฤติกรรมฮั้วซึ่งกันและกันเป็นต้น
  10. การประเมินแบบศูนย์ทดสอบ (Assessment Center) เป็นเทคนิคการประเมินที่ใช้ เทคนิคหลายๆ วิธีร่วมกันและใช้บุคคลหลายคนร่วมกันประเมิน เช่น แบบสอบถาม การสังเกต พฤติกรรม การสัมภาษณ์ การทดสอบ การใช้แบบวัดทางจิตวิทยา กรณีศึกษา เป็นต้น ข้อดีของ การประเมินแบบนี้คือผลการประเมินมีความเที่ยง และความเชื่อถือได้สูงเพราะใช้เทคนิคหลายวิธี ร่วมกัน ใช้คนหลายคนช่วยกันประเมิน ส่วนข้อจำกัดก็คือต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามาก เป็นต้น

บทบาทและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา


ในขบวนการจัดทำระบบสมรรถนะในการทำงาน ขั้นตอนการกำหนดสมรรถนะ มาตรฐานและการประเมินสมรรถนะของพนักงาน เป็นขั้นตอนที่ยากและละเอียดอ่อนที่สุด ใน ขั้นตอนนี้จะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมืออันดีจากผู้บังคับบัญชาและ ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยทั้งสองฝ่ายมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หมายถึง ผู้ประเมิน มีบทบาทและหน้าที่ในการ
  • วิเคราะห์หน้าที่และผลที่ดาดหวังของตำแหน่งงาน
  • กำหนดว่าสมรรถนะอะไรที่จำเป็นในการทำงานบ้าง ต้องมีอยู่ในระดับ ความสามารถไหน และสมรรถนะไหนมีความสำคัญมากที่สุดในการทำงาน
  • ประเมินความสามารถของพนักงานเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • วางแผนการพัฒนาสมรรถนะที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ ผู้ใต้บังคับบัญชาในวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้วยตนเอง
ผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง ผู้รับการประเมิน มีบทบาทและหน้าที่ในการ
  • ศึกษารายละเอียดของตำแหน่งงาน สมรรถนะที่จำเป็นในการทำงาน
  • เปรียบเทียบความรู้ ทักษะ ของตนเองกับระดับความสามารถที่กำหนดไว้
  • ร่วมกำหนดแผนการพัฒนาสมรรถนะกับผู้บังคับบัญชา
  • ขอคำปรึกษา คำแนะนำ จากผู้บังคับบัญชาในวิธีการพัฒนาสมรรถนะของตนเอง
  • ประเมินความก้าวหน้าของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ความถี่ในการประเมินสรรถนะการทำงาน

เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ควรทำการประเมินสมรรถนะในการทำงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยทำการประเมินในช่วงเวลา ระหว่างการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อนำแผนการพัฒนารายบุคคลไปเป็นเป้าหมายการ ทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในปีถัดไป

สมรรถนะในการทำงาน


ระบบสมรรถนะในการทำงาน (Competency Model) เป็นเครื่องมือบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารทุกระดับสามารถนำมาใช้ในการ สรรหา รักษา และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถและบุคลิกลักษณะเฉพาะตรงตามที่ ตำแหน่งกำหนด เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามผลตามที่คาดหวังไว้
สมรรถนะในการทำงาน (Competency) หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ (Knowledge, Skills, Personal Attribute) ของบุคคลที่จำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้
  1. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่มีความรู้ พนักงานก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง ความรู้นี้มักจะได้จากการศึกษา อบรม สัมมนา รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้มีความรู้ในด้านนั้นๆ
  2. ทักษะ (Skills) หมายถึงทักษะ ความสามารถเฉพาะที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้า ไม่มีทักษะแล้ว ก็ยากที่ทำให้พนักงานทำงานให้มีผลงานออกมาดีและตามเป้าหมายที่กำหนด ไว้ได้ ทักษะนี้มักจะได้มาจากการฝึกฝน หรือกระทำซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดความ ชำนาญในสิ่งนั้น
  3. คุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Attribute) หมายถึง คุณลักษณะ ความคิด ทัศนคติ ค่านิยม แรงจูงใจและความต้องการส่วนตัวของบุคลล คุณลักษณะเป็นสิ่งที่ติดตัวและ เปลี่ยนแปลงได้ไม่ง่ายนักคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับหน้าที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาในการ ทำงาน และทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ประโยชน์ของการนำระบบสมรรถนะไปใช้ภายในองค์กร


การนำระบบสมรรถนะไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรมีประโยชน์ต่อบุคลากร ผู้บริหาร หน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้

บุคลากร (Operators)

  1. ช่วยให้บุคลากรทราบถึงระดับสมรรถนะของตนเอง (ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ) ว่าอยู่ในระดับใด มีจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องใดบ้าง และจะต้องพัฒนาสมรรถนะในเรื่องใดบ้าง
  2. ช่วยให้บุคลากรทราบกรอบพฤติกรรมมาตรฐาน หรือพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวังให้ตน แสดงพฤติกรรมในตำแหน่งนั้นอย่างไรบ้าง และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน และเป็นระบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
  3. ช่วยให้พนักงานทราบถึงเส้นทางความเจริญเติบโตก้าวหน้าในสายวิชาชีพ (Career Development) ของตนเอง และแนวทางการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้บรรลุเป้าหมายได้อย่าง ชัดเจน

ผู้บริหารระดับหน่วยงาน (Director, Dean)

  1. ช่วยให้ผู้บริหารระดับหน่วยงานทราบถึงสมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ) ที่ บุคลากรในหน่วยงานของตนเองจำเป็นต้องมีเพื่อให้การปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นประสบความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย
  2. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของตนเป็นรายบุคคล
  3. ใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานให้ตรงกับ คุณสมบัติของตำแหน่งงานนั้น ๆ

ผู้บริหารระดับสูง (Top Executive)

  1. สามารถเชื่อมโยงหรือแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร หรือยุทธศาสตร์ของ องค์กรมาสู่กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างชัดเจน
  2. ใช้สมรรถนะเป็นตัวผลักดัน (Driver) ให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กรหรือ ยุทธศาสตร์ขององค์กรบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงาน
  3. ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนในศักยภาพของบุคลากรในองค์กร และ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  4. สามารถนำไปใช้วัดผลการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างเป็นระบบและชัดเจน

ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management Division)

  1. เห็นภาพรวมของสมรรถนะองค์กร สมรรถนะหลัก และสมรรถนะตามกลุ่มงาน/สาย วิชาชีพของบุคลากรทุกตำแหน่งงาน
  2. สามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรได้ตรง ตามความต้องการของบุคลากรและหน่วย
  3. นำไปใช้เป็นพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร อาทิเช่นการสรรหาและ คัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงานการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง การ พัฒนาความก้าวหน้า ในสายอาชีพ การดูแลรักษาบุคลากร และการจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น

ความหมายของสมรรถนะ


David C. McClelland (1970) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “สมรรถนะ หมายถึงคุณลักษณะ ที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลสามารถสร้างผลการ ปฏิบัติงานในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่า หรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้
Boyatzis (1982) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐาน (Underlying Characteristic) ของบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจ (Motive) อุปนิสัย (Trait) ทักษะ(Skill) จินตภาพส่วนตน (Self-Image) หรือบทบาททางสังคม (Social Role) หรือองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ซึ่งบุคคล จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลงานสูงกว่า/เหนือกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้
Boam and Sparrow (1992) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง กลุ่มของคุณลักษณะเชิง พฤติกรรมที่บุคคลจำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหนึ่งๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานใน หน้าที่ความรับผิดชอบประสบความสำเร็จ
Spencer and Spencer (1993) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐาน (Underlying Characteristic) ที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลได้แก่ แรงจูงใจ (Motive) อุปนิสัย (Trait) อัตตมโนทัศน์ (Self-Concept) ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill) ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ จะเป็นตัวผลักดันหรือมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) ให้บุคคลสามารถ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ/หรือ สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิง (Criterion – Reference) หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
Arnauld de Nadaillac (2003) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าสมรรถนะนั้นเป็นสิ่งที่ต้องลง มือปฏิบัติและทำให้เกิดขึ้น กล่าวคือความสามารถที่ใช้เพื่อให้เกิดการบรรลุผลและวัตถุประสงค์ ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดความรู้ (Knowledge) การเรียนรู้ทักษะ (Know-how) และเจตคติ/ลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพต่างๆ (Attitude) ที่ช่วยให้สามารถเผชิญและแก้ไข สถานการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้จริง
David D. Dubois, William J. Rothwell (2004) กล่าวว่าสมรรถนะหมายถึง “คุณลักษณะที่ทุกคนมีและใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตาม เป้าหมาย ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ได้แก่ ความรู้ ทักษะ บุคลิกภาพ แรงจูงใจทางสังคมลักษณะ นิสัยส่วนบุคคล ตลอดจนรูปแบบความคิดและวิธีการคิด ความรู้สึกและการกระทำ”
เดชา เดชะวัฒนไพศาล (2543) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง ทักษะ ความรู้และ ความสามารถ หรือพฤติกรรมของบุคลากร ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง กล่าวคือ ใน การทำงานหนึ่งๆ เราต้องรู้อะไร เมื่อมีความรู้หรือข้อมูลแล้วเราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้นๆ อย่างไร และเราควรมีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะอย่างไรจึงจะทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรทราบว่าคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ดีในการทำงานของบุคลากร ในองค์กร (Superior Performer) นั้นเป็นอย่างไร
อุกฤษณ์ กาญจนเกตุ (2543) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง ความสามารถความ ชำนาญด้านต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถกระทำการหรืองดเว้นการ กระทำในกิจการใดๆ ให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งความสามารถเหล่านี้ได้มาจากการ เรียนรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝน และการปฏิบัติจนเป็นนิสัย
ณรงค์วิทย์ แสนทอง (2545) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของเป้าหมายของงานใน ตำแหน่งนั้นๆ สมรรถนะแต่ละตัวจะมีความสำคัญต่องานแต่ละงานแตกต่างกันไป
HAY Group (2547) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางระบบการบริหารงานบุคคล ระดับโลก ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้ บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานได้ผลงานโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ โดยบุคลากรเหล่านี้จะแสดง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมดังกล่าวได้มากกว่าเพื่อนร่วมงานในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าผู้อื่น
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กล่าวว่า “สมรรถนะคือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำ ให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ ในองค์กร”กล่าวคือ การที่บุคคลจะ แสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้ มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้งความรู้ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สมรรถนะการบริการที่ดี ซึ่งอธิบายว่า “สามารถให้บริการที่ ผู้รับบริการต้องการได้” นั้น หากขาดองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ความรู้ในงานหรือทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจต้องหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์และคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นคนใจเย็น อดทน ชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น แล้วบุคคลก็ไม่อาจจะแสดงสมรรถนะของการบริการที่ดีด้วยการให้บริการที่ ผู้รับบริการต้องการได้

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายขององค์การ


 องค์กร ( organization) หมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์การที่แสวงหาผลกำไรคือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น
โดยเริ่มแรกนั้น คำว่า "องค์การ" เดิมเป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำภาษาอังกฤษ organization ในขณะที่ คำว่า "องค์กร" เป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำว่า organ โดยที่องค์กรหมายถึงหน่วยย่อยขององค์การแต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายเดียวกัน ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น

เหมา เจ๋อ ตุง


(Mao Tse-tung 1893 – 1976) 

เหมา เจ๋อ ตง หรือ เหมา เจ๋อ ตุง เกิดที่มณฑลหูหนาน จบการศึกษาจากวิทยาลัยฝึกหัดครู ก่อนจะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากถูกปราบปรามโดยนายพลเจียงไคเชก เหมาได้ขึ้นมาเป็นประธานของคณะโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ชนะสงครามกลางเมืองจีน และปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เหมาเจ๋อตุงได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

เหมาได้นำประเทศเข้าเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ก่อนจะแยกตัวมาภายหลัง เขายังเป็นผู้นำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม

เหมาได้รับการยกย่องให้รวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง หลังจากตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติตั้งแต่สงครามฝิ่น ในประเทศเขาถูกเรียกว่า ประธานเหมา (Chairman Mao) แต่เขาปกครองประเทศจีน และก็มีป้ายปรากฏคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นครั้งสุดท้ายที่เหมาจะขอความคิดเห็นกับประชาชนจีน ไม่ช้าหลังจากนั้นเขาก็กำจัดคนที่ออกมาพูดอย่างอำมหิต คนหลายแสนคนถูกระบุว่าเป็นพลเรือนฝ่ายขวา และถูกไล่ออกจากงานคน หลายหมื่นคนถูกส่งเข้าคุก แต่เหมาไม่สนใจอีกต่อไป เขาแวดล้อมด้วยลูกขุนพลอยพยักและมีอิสระที่จะดำเนินตามความคิด ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะคาดเดาปลายทางได้

เหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ.1921 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ “พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน” แล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ “ป่าล้อมเมือง” จนมีชัยเหนือเจียงไคเชก

เหมาเจ๋อตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึง ค.ศ.1969

หลักการของเหมาเจ๋อตุง 
หลักการของเหมาเจ๋อตุงนั้นเน้นการใช้อำนาจเด็ดขาด หรือวิธีการเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงเห็นว่าอำนาจนั้นจะได้มาก็ด้วยการปฏิวัติ ดังคำกล่าวว่า “อำนาจรัฐเกิดจากกระบอกปืน” กล่าวคือ “หลักการของเราคือ พรรคบัญชาปืน จะยอมให้ปืนมาบัญชาพรรคไม่ได้เป็นอันขาด แต่เป็นความจริงที่เมื่อมีปืนแล้ว ก็สามารถสร้างพรรคขึ้นมาได้” เหมาเจ๋อตุงย้ำว่า การปฏิวัติเป็นการต่อสู้โดยไม่ต้องคำนึงหรือนำพาต่อคำคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น

จุดมุ่งหมายของเหมาเจ๋อตุง
  1. ในด้านเศรษฐกิจ เหมาเจ๋อตุงเน้นความสำคัญ หรือความทุกข์ร้อนของชาวไร่ ชาวนามากยิ่งกว่าความทุกข์ร้อนของชนชั้นกรรมาชีพ ฉะนั้น เหมาเจ๋อตุงจึงมุ่งการปฏิวัติเพื่อชนบทโดยใช้กลยุทธ “ป่าล้อมเมือง” และใช้ระบบคอมมูน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรกรรม อันประกอบด้วยกองผลิตเล็ก และกองผลิตใหญ่
     
  2. เหมาเจ๋อตุงมีความปรารถนาอย่างแน่วแน่ และจริงจัง ในการวางรากฐานของระบบคอมมิวนิสต์ในเอเชีย โดยใช้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้บรรลุเป้าหมาย ฉะนั้น คอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ได้ยึดถือแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุงเป็นหลักการในการดำเนินการที่เรียกว่า “ลัทธิเหมา” (Maoism)

    เหมาเจ๋อตุงได้เรียกวิธีการของตนว่า “ประชาธิปไตยแผนใหม่” ซึ่งเน้นความสำคัญในการรวมกลุ่มชาวไร่ ชาวนา กรรมกร ปัญญาชน และนายทุน เข้ามาเป็นแกนกลางของคอมมิวนิสต์ เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติ
     
  3. เหมาเจ๋อตุงให้ความสำคัญของการต่อสู้ด้วยการใช้กำลังพลและอาวุธ โดยแสดงออกในรูปของสงครามปลดปล่อย ซึ่งมีทหารป่า และกองโจรติดอาวุธเป็นหัวหอกในการขยายอิทธิพล สำหรับกลยุทธที่ทหารป่า และกองโจรดำเนินการนั้นใช้หลัก “มึงมา ข้ามุด มึงหยุด ข้าแหย่ มึงแย่ ข้าตี มึงหนี ข้าตาม”
นอกจากนั้น เหมาเจ๋อตุงได้ใช้ตำราพิชัยสงครามของ “ซุ่นจื่อ” 3 ประการ กล่าวคือ
  1. ต้องเอาชนะจิตใจประชาชน คือการแย่งชิงปวงชน
  2. ต้องเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งเสบียงอาหาร
  3. ต้องพิชิตป้อมปราการของศัตรูให้จงได้
เหมาเจ๋อตุงได้อธิบายหลักพิชัยสงครามนี้ โดยได้อุปมาอุปไมยว่า “ทหารเปรียบเสมือนปลา ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ ถ้าปลาขาดน้ำก็จะตายฉันใด ถ้าทหารอยู่ห่างไกลจากประชาชน ก็จะตายฉันนั้น”

ปรัชญาการเมือง 
หัวใจของปรัชญาทางการเมืองของเหมาเจ๋อตุง คือ “มวลชนสู่มวลชน ” หมายถึง นโยบายของพรรคต้องเริ่มต้นจากมวลชนโดยตรงโดยวิธีการดังนี้
  1. รวบรวมความคิดเห็นของมวลชนที่กระจายไม่เป็นระเบียบ
  2. ศึกษาความคิดเห็นที่ได้รวบรวมและเสนอผู้บังคับบัญชา
  3. ผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำและส่งคืนสู่ประชาชน
  4. เมื่อมวลชนยอมรับ ก็คือนโยบาย
ลัทธิมาร์กซิสตามทรรศนะของเหมาเจ๋อตุงพิจารณาถึงอดีต เพื่อเป็นแนวทาง ในการประยุกต์เพื่อปัจจุบัน และยังเชื่ออีกว่าในขณะที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยการเมืองต้องมีอำนาจบังคับบัญชาทุกอย่างได้

ความขัดแย้งในความคิดของ เหมาเจ๋อตุงมี 2 ประเภท คือ 
1. ความคิดที่ขัดแย้งเกี่ยวกับตนเอง และศัตรู
2. ความขัดแย้งที่ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
  1. ระหว่างอุตสาหกรรมหนักกับการเกษตรกรรม
  2. ระหว่างอำนาจส่วนกลางกับท้องถิ่น
  3. ระหว่างในเมืองกับชนบท
  4. ระหว่างชนกลุ่มน้อยในชาติกับประชาชนชาวฮั่น ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ
การปฏิวัติวัฒนธรรมที่ความมุ่งหมายเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างระบบรวมอำนาจทางเศรษฐกิจของชนชั้นกรรมาชีพ และปัจเจกนิยมชนชั้นกระฏุมพี ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม”

ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง 
ระดับพัฒนาการของทุนนิยมในจีนในยุคของเหมาเจ๋อตุงนั้นไม่ได้เป็นสังคมทุนนิยมตามความหมายในลัทธิมาร์กซ์ แต่เป็นสังคมที่เหมาเจ๋อตุงเรียกว่า “กึ่งศักดินา กึ่งอาณานิคม” ดังนั้น ในเมื่อลัทธิมาร์กซ์มิได้ผูกขาดขบวนการปฏิวัติเพื่อสังคมนิยมไว้กับวิธีการปฏิวัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ หากเป็นลัทธิที่เปิดกว้างให้กับการนำเอากลวิธีใดก็ได้มาใช้ หากกลวิธีดังกล่าวสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ เหมาเจ๋อตุงจึงได้พยายามศึกษาคิดค้นแนวทางดำเนินการ และกลวิธีในการทำสงครามปฏิวัติที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในจีนขณะนั้น

ในเมื่อพัฒนาการของสังคมจีนมีรากฐานทางเศรษฐกิจ (โครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ) ที่แตกต่างมากจากสังคมทุนนิยมของยุโรปตะวันตก การเน้นบทบาทของปัจจัยด้านอัตวิสัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทฤษฏีการปฏิวัติของลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งการเน้นบทบาท และความสำคัญของปัจจัยอัตวิสัยในการทำการปฏิวัติของจีนเป็นที่ประจักชัดจากการที่เหมาเจ๋อตุง ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการขัดกันระหว่างลัทธิจิตสำนึก (voluntarism) กับลัทธิวัตถุกำหนด (economic determinism) โดย เหมาเจ๋อตุง ยอมรับว่าวัตถุเป็นเครื่องกำหนดระบบความคิดและความคงอยู่ของสังคม และความสำนึกของบุคคลในสังคม แต่ขณะเดียวกันเขาเห็นว่าอำนาจของความสำนึกอาจเปลี่ยนสภาพวัตถุได้เหมือนกัน

พลังของจิตสำนึก (ปัจจัยอัตวิสัย) ซึ่งตามลัทธิมาร์กซ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน (superstructure) จะสามารถก่อความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์และสัมผัสโดยตรงกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจการเมืองที่ปรากฏในแต่ละห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ความคิดของเหมาเกี่ยวกับการปฏิวัติจึงได้เน้นให้ความสำคัญแก่ชาวนามากกว่ากรรมกรในการทำการปฏิวัติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเหมาปฏิเสธลัทธิมาร์กซ์เกี่ยวกับความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ แต่เป็นเพราะจีนในยุคของเหมา ไม่มีจำนวนกรรมกรที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพเพียงพอที่จะทำการปฏิวัติ และข้อสำคัญที่สุดคือ การที่เหมาได้มอบบทบาทหลักในการทำปฏิวัติจีนให้แก่ชนชั้นชาวนาหาไม่ได้มีความหมายว่าเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนหลักการขั้นพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ทั้งนี้เหมาได้เน้นอีกด้วยว่าถึงแม้การปฏิวัติของจีนโดยเนื้อหาแล้วจะเป็นการปฏิวัติของชาวนา แต่การปฏิวัติดังกล่าวจำต้องนำโดยฝ่ายกรรมาชีพ หรืออีกนัยหนึ่งต้องเป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์

ลักษณะเด่นอีกด้านหนึ่งของแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงที่มีลักษณะจำเพาะต่างจากลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน (แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและหลักการเดิมไว้) คือ การเปลี่ยนความคิดเดิมของลัทธิเลนินที่ว่าเส้นทางไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติมีจุดศูนย์กลางที่การลุกฮือในเมืองโดยเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิวัติโซเวียตจากเมืองสู่ชนบทเป็นชนบทสู่เมือง โดยเน้นลักษณะการทำสงครามปฏิวัติที่ยืดเยื้อมีชนบทเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนาจปฏิวัติ นอกจากนั้นโดยที่จีนยุคปฏิวัติตกอยู่ภายใต้การรุกรานและยึดครองของญี่ปุ่นจึงนับเป็นการเปิดโอกาสให้เหมาเจ๋อตุงทำการโยงปัญหาการปฏิวัติเข้าโดยตรงกับปัญหาความอยู่รอดของจีน ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากจนประสบชัยชนะในที่สุด

จะเห็นได้ว่าเหมาเจ๋อตุงนิยมใช้วิธีการรุนแรง ที่เรียกกันว่า “อำนาจต้องได้มาด้วยกระบอกปืน” และเหมาเจ๋อตุงมีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า ด้วยวิธีการใช้กำลังพลเข้าโจมตีอย่างหาญหัก และด้วยวิธีการอันฉับพลันทันใด คอมมิวนิสต์จะเป็นฝ่ายชนะในที่สุด

ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เกิดขึ้นมาในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า สมัยนั้นผู้ใช้แรงงานยังได้รับค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ และสวัสดิการในด้านต่าง ๆก็ไม่สู้ดีนัก แต่ในปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้พัฒนาไปมาก ทำให้สถานภาพและความเป็นอยู่ของคนงานโดยส่วนรวมดีขึ้น ฉะนั้นลัทธิคอมมิวนิสต์จึงอาจล้าสมัย และนอกจากนั้นปรากฏว่ายังไม่มีประเทศใดในโลกนี้ได้บรรลุความเป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์แม้แต่ประเทศเดียว

สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์
  • แนวคิดในเรื่องสังคมนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเพลโต้เขียนเรื่อง อุตมรัฐ และ เซอร์ โธมัส มอร์เขียนเรื่อง ยูโทเปีย
  • ส่วนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ จุดประสงค์ คือ ต้องการทำลายแนวคิดแบบประชาธิปไตย ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น
สังคมนิยม 
แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อนคริสตศักราช กล่าวคือ เพลโตได้วาดมโนภาพไว้ว่า สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชั้นได้บริโภค

วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 19 กล่าวคือผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีทั้งความรู้ และทรัพย์สินได้รับความทุกข์ยาก และมีความยากจนข้นแค้นเป็นอย่างมาก นักสังคมนิยมจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน นักคิดเหล่านี้เสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยให้พิจารณาถึงผู้ยากจนเป็นกรณีพิเศษ

สังคมนิยมมี 2 แบบ คือ
  1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socialism)
  2. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย (Democratic Socialism)
คอมมิวนิสต์ 
คำว่า “คอมมิวนิสต์” (Communist) เริ่มมีขึ้นราวปี ค.ศ. 1834-1839 พวกสมาคมลับที่จะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดขึ้น หมายถึง “การรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน เป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด” (Community of goods) โดยเห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของความสุขสมบูรณ์ และความยากจนของมนุษย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

คอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิขบวนการปฏิวัติที่พยายามจะล้มล้างลัทธิทุนนิยม และจัดตั้งสังคมใหม่ โดยให้ถือว่าทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของส่วนรวม การดำเนินการเศรษฐกิจจะเป็นไปตามแผนการ และอยู่ในความควบคุมจัดการของส่วนรวม โดยแบ่งส่วนเฉลี่ยทรัพย์แก่ทุกคนตามหลักการที่ว่า “แต่ละคนทำงานตามความสามารถของตนแต่ละคนได้รับสิ่งที่ตนต้องการ”

จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์
  1. มุ่งก่อตั้งสังคมไร้ชนชั้น
  2. เครื่องมือการผลิตต้องกระจายไป
  3. การแลกเปลี่ยนทุกชนิดต้องเป็นของประชาคม
  4. รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือกดขี่ประชาชนจะต้องสลายไป
  5. ถ้ายังไปไม่ถึงอุดมการณ์นั้น ให้เรียกว่า “สังคมนิยม” หรือ “เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ”
หลักคอมมิวนิสต์ 
คือ แต่ละคนทำงานตามความสามารถของเขา และรับปันผลผลิตจากสังคมนิยมตามความจำเป็นของเขา

จุดแข็งของคอมมิวนิสต์ 
คือ การดึงปัญญาชนเข้ามามีบทบาท แล้วถ่ายทอดสู่ชนชั้นแรงงานระดับล่าง ความจริงแล้วลัทธินี้ก็คือ กลุ่มแนวคิดที่เข้ามาแทนที่ช่องว่างอันเกิดมาจากการสลายตัวขององค์กรทางศาสนานั่นเอง

ความเหมือน และความแตกต่างระหว่างสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ 
ความเหมือน 
ประชาคม หรือรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบวิธีที่จะให้ประชาคมเข้าทำการควบคุม จึงต้องมีรัฐไว้เพื่อทำหน้าที่บริการแทนไปก่อน
ความแตกต่าง
สังคมนิยมถือว่าพวกเขาสามารถก่อตั้ง และดำรงระบบของพวกตนเอาไว้ด้วยวิถีประชาธิปไตย ซึ่งคอมมิวนิสต์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ และกล่าวหาสังคมนิยมว่าเป็นพวกประนีประนอมกับนายทุน
บรรณานุกรม
  • ทวีป วรดิลก. เหมาเจ๋อตง ฮ่องเต้นักปฏิวัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2545.
  • ทอม บอตโตมอร์. พัฒนาการศาสตร์มาร์กซิสม์ ว่าด้วยสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: หจก.เจริญวิทย์การพิมพ์, 2529.
  • สัญชัย สุวังบุตร. ประวัติศาสตร์โซเวียดสมัยเลนิน ค.ศ.1917-1924. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภา, 2545.
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532.
  • วิทยา ศักยาภินันท์. ปรัชญามาร์กซ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533.
  • อาร์.เอ็น.ฮันท์. วิเคราะห์ลัทธิคอมมิวนิสม์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.
  • ที่นี่ ที่เดียว เรื่องเที่ยวรัสเซีย. การปฏิวัติรัสเซีย. [Online].
  • นักปรัชญา. คาร์ล มาร์กซ์. [Online].เข้าถึงได้จาก: www.biolawcom.com.
  • บทความ. วลาดิมีร์ เลนิน. [Online]. เข้าถึงได้จาก: www.wikipedia.co.th
  • แสดงความคิดของนักปรัชญา. ประวัติและผลงานของ เกออร์ก เฮเกิล. [Online].

วลาดิมีร์ เลนิน


(Vladimir Lenin 1870-1924) 

ชื่อจริงของเขา คือ วลาดิมีร์ อีลิช ยูเลียนอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov) เกิดที่เมืองเซมเบิร์ซก์ของรัสเซีย เขาได้ศึกษากฎหมายและงานเขียนของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นคนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ที่สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1922 เป็นหัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรก และเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน เขาได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกเนรเทศไปไซบีเรียจนถึง ค.ศ.1900 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติ เลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ของรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1918-1921

เลนินมีความเชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยม จึงรวบอำนาจมารวมไว้ในพรรคคอมมิวนิสต์ และเริ่มปรับเปลี่ยนระบบควบคุมจากส่วนกลางที่เข้มงวด และเหี้ยมโหดของพวกบอลเชวิก มาทุ่มเทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแนวใหม่ที่เรียกว่า “นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่”(New Economic Policy)อย่างเต็มที่เพื่อล้มระบบทุนนิยม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และการต่อต้านจากกลุ่มหัวรุนแรงเดิมว่าเป็นการอ่อนข้อให้ระบบทุนนิยม และหนีห่างจากระบบสังคมนิยมมากเกินไป

เมื่อเขาเสียชีวิต ศพของเลนินได้รับการอาบน้ำยาตั้งไว้ให้ประชาชนเคารพในสุสานที่จตุรัสหน้าวังเครมลินจนถึงปัจจุบัน นับว่าเลนินเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตที่ยังมีคนนับถือ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองสำคัญคือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาเป็นเมืองเลนินกราด เมื่อ ค.ศ. 1924 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา แต่ได้กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากเลนิน คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตเข้าสู่ยุคม่านเหล็กที่ลึกลับที่ปิดประเทศจากโลกเสรี มีการปกครองที่เด็ดขาด และโหดเหี้ยมขัดกับเจตจำนงเดิมของเลนินอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตสลายได้โดยง่ายเมื่อปี ค.ศ. 1991 เลนินได้รับการยอมรับให้เป็นบิดาของลัทธิคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ พรรคคอมมิวนิสต์หลายชาติต่างยึดถือลัทธิเลนินเป็นแบบฉบับ

ผลงานสำคัญ
  • พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย
  • หนังสือพิมพ์อิสกรา
  • จะทำอะไรในอนาคต (What is to be done)
  • เมษาวิจารณ์ (April Theses)
  • รัฐและการปฏิวัติ
  • การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
สาเหตุของการปฏิวัติรัสเซีย
  1. ความพ่ายแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ 1 รัสเซียประกาศสงครามกับเยอรมนี ในปี ค.ศ.1914 และเข้าร่วมเป็นพันธมิตรฝ่ายเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ต้องเป็นฝ่ายปราชัย และได้รับความเสียหายในแนวรบด้าน ต่าง ๆ อย่างมาก
     
  2. ปัญหาเศรษฐกิจ และภาวะขาดแคลนอาหารภายในประเทศ การเข้าร่วมสงคราม ทำให้รัสเซียประสบปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างหนัก เนื่องจากชาวนาถูกเกณฑ์เป็นทหาร จึงทำให้ปริมาณผลผลิตตกต่ำ ราคาอาหารและสินค้าต่าง ๆ จึงพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อนจึงชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล
     
  3. ความล้มเหลวในการบริหารประเทศ และความเสื่อมโทรมของการปกครองระบอบเก่า พระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภายในประเทศที่เกิดขึ้นได้ ซ้ำร้ายยังทรงแต่งตั้งบุคคลที่ไร้ความสามารถเข้าทำหน้าที่ในรัฐบาลเป็นผลให้งานบริหารราชการแผ่นดินได้รับความเสียหาย
     
  4. ความวุ่นวายภายในประเทศ สืบเนื่องมาจากภาวะความขาดแคลนอาหาร และน้ำมันเชื้อเพลิงในปี ค.ศ.1917 ถึงขั้นที่รัฐบาลต้องใช้วิธีปันส่วนอาหาร และควบคุมการใช้เชื้อเพลิง ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วประเทศ และเกิดการจลาจลตามเมืองต่างๆ
การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1917 ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ คือ
  • การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการปฏิวัติโค่นล้มการปกครองระบอบกษัตริย์ ส่งผลให้พระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2 ( Tsar Nicholas II ) และราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov) ต้องล่มสลาย
     
  • การปฏิวัติเดือนตุลาคม เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์เป็นประเทศแรกของโลก โดยการนำของเลนิน ผู้นำพรรคบอลเชวิก หรือพรรคคอมมิวนิสต์ของรัสเซียในขณะนั้น
การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 
เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันเพื่อล้มล้างระบอบกษัตริย์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
  1. จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 เมื่อกรรมกรหญิงในกรุงเปโตรกราดได้จัดชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการเข้าร่วมในสงครามโลก ครั้งที่ 1 และแก้ไขปัญหาความอดอยากขาดแคลนอาหาร รัฐบาลได้ใช้กำลังทหารและตำรวจปราบปรามฝูงชน
     
  2. พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงสละราชบัลลังก์ เมื่อเหตุการณ์บานปลายมีประชาชนได้รับบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก พระเจ้าซาร์จึงทรงสละราชสมบัติตามคำแนะนำของสภาดูมา (Duma) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1917เหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวจึงยุติลง เป็นการสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์โรมานอฟ และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในประเทศรัสเซีย
การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 
เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ มีสาเหตุดังนี้
  1. ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ภายหลังสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ รัฐบาลชุดใหม่ซึ่งเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล ยังคงสนับสนุนให้รัสเซีย เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อไป แต่เมื่อต้องประสบความพ่ายแพ้ในการรบหลาย ๆครั้ง ทำให้ประชาชนไม่พอใจพรรคบอลเชวิก จึงฉวยโอกาสปลุกระดมให้ประชาชนต่อต้านสงคราม
     
  2. การก่อกบฏของนายพลลาฟร์ คอร์นีลอฟ (Lavr Kornilov) ในเดือนกันยายน ค.ศ.1917 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาล และจัดตั้งระบบเผด็จการทางทหารขึ้นแทน แต่ถูกรัฐบาลปราบปรามลงได้ โดยความช่วยเหลือของพรรคฝ่ายซ้าย
     
  3. วิกฤติทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมในสงคราม รัสเซียประสบปัญหาหนี้สินจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลนและมีราคาสูงทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
     
  4. การเดินทางกลับเข้าประเทศของผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่นอกประเทศ เช่น วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) และเลออน ทร็อตสกี (Leon Trotsky) ได้ร่วมกันวางแผนปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล และเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
การดำเนินการยึดอำนาจของเลนิน 
เลนิน ผู้นำพรรคบอลเชวิก ได้วางแผนปฏิวัติยึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลังอาวุธ โดยใช้เวลาระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม ค.ศ.1917 เข้ายึดสถานที่ทำการของรัฐบาล และจับกุมบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลได้เกือบหมด จึงถือว่า รัสเซียเป็นประเทศแรกของโลกที่ปฏิวัติเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์

ความสำคัญของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917
  1. การปฏิวัติในเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 ของพรรคบอลเชวิก ทำให้รัสเซียเป็นต้นแบบของการปฏิวัติสังคมนิยมที่ประเทศอื่น ๆ นำมาเป็นแบบอย่าง ในด้านบทบาทของเลนิน ผู้นำพรรคบอลเชวิก ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้นำการปฏิวัติในภูมิภาคอื่น ๆ ได้ยึดถือในอุดมการณ์ของการปฏิวัติเช่นกัน
     
  2. การวางแผนพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต ทำให้รัสเซียกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งประเทศหนึ่งของโลกในเวลาไม่นาน และก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นชาติมหาอำนาจในเวทีการเมืองของโลกในปัจจุบัน
การปฏิวัติกระฎุมพี 
การปฏิวัติกระฎุมพี เป็นการรวมตัวระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนา ซึ่งได้ชัยชนะในการปฏิวัติกระฎุมพี และนี่ก็คือความหมายอันแท้จริงของสิ่งที่เลนินเรียกว่า “เผด็จการของปฏิวัติ-ประชาธิปไตยของฝ่ายกรรมาชีพและชาวนา” (revolutionary democratic dictatorship of the proletariat and the peasantry)

เลนินมีความเห็นว่าการปฏิวัติกระฎุมพีนั้นจะนำผลประโยชน์มาให้กับฝ่ายกรรมาชีพมากกว่าฝ่ายกระฎุมพี เนื่องจากการปฏิวัติกระฎุมพีโดยฝ่ายกรรมาชีพ และชาวนาเป็นการปฏิวัติที่รวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน พวกกระฎุมพีจึงมีความหวาดกลัวการปฏิวัติ แต่ฝ่ายกรรมาชีพก็จำต้องบังคับให้ฝ่ายกระฎุมพีประสบกับชัยชนะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เลนินถือว่าการปฏิวัติกระฎุมพีจะมีผลอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อพวกกระฎุมพีทิ้งการปฏิวัติของพวกตน ก่อให้เกิดการปฏิวัติกระฎุมพีโดยปราศจากพวกกระฎุมพี (bourgeois revolution without the bourgeoisie)

ลักษณะที่เด่นที่สุดของเลนิน คือ การเป็นนักทฤษฎี และนักปฏิวัติที่มีความคิด ความเข้าใจดีที่สุดเกี่ยวกับบทบาทของพรรคปฏิวัติ ซึ่งเลนินถือว่าการมีพรรคปฏิวัติทรงอำนาจเบ็ดเสร็จ มีองค์การที่รัดกุม และสายงานบังคับบัญชาจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างที่แน่ชัด โดยอำนาจเด็ดขาดถูกผูกขาดโดยศูนย์กลางของพรรค (party centralism) ซึ่งเลนินได้เปรียบศูนย์กลางพรรคเป็นเสมือนมันสมอง ส่วนองค์กรย่อยอื่นๆ ของพรรคเป็นเสมือนแขนและขา พรรคมีหน้าที่กำหนดและสั่งการนโยบายให้กับทุกชนชั้นในสังคม

เลนินได้เสนอนโยบายเจตจำนงต่อฝ่ายชนชั้นกรรมาชีพก่อนที่จะทำการปฏิวัติ เป็นการให้ทราบถึงการยอมรับวัตถุประสงค์เป้าหมาย นโยบายของกลุ่มผู้นำปฏิวัติ จึงถือว่าเป็นความคิดแบบ “ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์” (democratic centralism)

สรุปสาระสำคัญได้ว่า ทฤษฎีว่าด้วยการปฏิวัติของเลนิน ซึ่งรวมถึงทฤษฏีเกี่ยวกับพรรคปฏิวัติ และทฤษฏีผู้นำของเลนินได้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อการปฏิวัติในประเทศต่างๆ ของโลกช่วง 60 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยเป็นทฤษฏีแบบอย่างที่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเองเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิวัติแบบข้ามขั้นตอน โดยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจำกัดของระดับขั้นพัฒนาการของระบบทุนนิยมดังเป็นที่ประจักษ์จากการปฏิวัติของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในจีน และเวียดนาม

คาร์ล มาร์กซ์


(Karl Marx 1818 – 1883) 

มาร์กซ์ เกิดที่ประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ. 1818 ในตระกูลชนชั้นกลางเชื้อสายเยอรมันยิว สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา เมื่อ ค.ศ. 1841 จากมหาวิทยาลัยจีนา หลังจบการศึกษา เขาได้ยึดอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติต่าง ๆ จึงทำให้ชีวิตของเขาต้องระเหเร่ร่อน และลี้ภัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอังกฤษ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตใน ค.ศ.1883 ชีวิตของมาร์กซ์อยู่ท่ามกลางความเฟื่องฟูของลัทธินายทุน อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางการค้า และอุตสาหกรรม กล่าวคือ นายทุนจะทำหน้าที่ควบคุมและผูกขาดการผลิตในทางเศรษฐกิจตลอดจนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในทุกด้าน ขณะที่กรรมกรผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ทัศนคติของมาร์กซ์เช่นนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน

ปรัชญาการเมืองของมาร์กซ์ หรือที่เรียกว่า มาร์กซิสม์ (Marxism) นั้น เป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมกับพลังทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทฤษฏีวิภาษวิธี-วัตถุนิยม (dialectical materialism) ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจาก เฮเกล (Hegel) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ อาจกล่าวได้ว่ามาร์กซิสม์นี้เป็นทั้งปรัชญาทางการเมือง ปรัชญาทางเศรษฐกิจ และกลยุทธในการปฏิวัติสังคม กล่าวคือในฐานะที่เป็นปรัชญาการเมือง ลัทธิมาร์กซ์มุ่งอธิบายโครงสร้างทางชนชั้นทางสังคมที่ได้เปรียบ ในฐานะที่เป็นปรัชญาทางเศรษฐกิจ

ลัทธิมาร์กซ์มุ่งวิจารณ์วิถีแห่งการผลิตแบบนายทุนที่มีลักษณะกดขี่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมาร์กซ์เห็นว่าในที่สุดก็จะทำให้ระบบการผลิตเช่นนี้ล่มสลายไปในที่สุด และในฐานะที่เป็นกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ในการล้มล้างลัทธินายทุนโดยการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์

ผลงานสำคัญ
  1. ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
  2. ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy)
  3. คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
  4. การปฏิวัติของหลุยส์โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte)
  5. ทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลให้มาร์กซ์คิดทฤษฎีสังคมนิยม 
อิทธิพลของปรัชญาจิตนิยม และวัตถุนิยมต่อมาร์กซ์ในระยะแรกเริ่ม 
ทรรศนะของมาร์กซ์มองวัตถุนิยมว่าเป็นทรรศนะที่ถูกต้อง เพราะไม่อธิบายว่าโลกถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาจิตนิยมในความเห็นของมาร์กซ์นั้นเป็นปรัชญาที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตจริง ในทรรศนะของมาร์กซ์มองปรัชญาวัตถุนิยมของกรีก และโรมันว่าเป็นขั้นปฐมเท่านั้น มาถึงสมัยกลาง ปรัชญาที่เคยเป็นวิชาการอิสระได้ถูกนำไปรับใช้ศาสนจักร จนมาถึงสมัยใหม่ มาร์กซ์ได้ยกย่องนักปรัชญาวัตถุนิยม เช่น สปิโนซ่าเห็นว่าสสารเป็นพื้นฐานของเอกภพ เป็นต้น และนักปรัชญาวัตถุนิยม ให้ทรรศนะในเรื่องสสารที่สำคัญ เช่น บอกว่ามนุษย์เป็นสสารซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสสาร และในด้านทฤษฎีความรู้ และอภิปรัชญายังคงให้ความสำคัญแก่สสาร อาจเป็นเพราะเขาไม่ชอบระบบศักดินา ศาสนาคริสต์ และปรัชญาจิตนิยม ซึ่งสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจวาทะของมาร์กซ์ที่กล่าวว่า “ศาสนา คือ ยาเสพติดของประชาชน” ศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้นสูง เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคม

แนวคิดของนักปรัชญาอื่น 
มาร์กซ์ได้เรียนปรัชญาของเฮเกล ซึ่งเฮเกลมีปรัชญาว่า ความจริงแท้มีสภาพเป็นจิต โลกและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ต่างเป็นผลพัฒนาของจิต พัฒนาไปจนถึง “จุดเอกภาพ” และไม่หยุดเพียงแต่จุดที่พัฒนาต่อไป ภายใต้เงื่อนไขของภาวะขัดแย้ง ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้น คือ สภาวะพื้นฐาน (Thesis) สภาวะขัดแย้ง (Anti Thesis) และสภาวะสังเคราะห์ (Synthesis) จนกว่าจะบรรลุจุดสูงสุดที่เรียกว่า “สัมบูรณจิต”

จากรูปข้างต้น เฮเกลอธิบายว่า Idea ( Thesis ) คือสภาวะพื้นฐานกับธรรมชาติ ทั้งสองสิ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วขัดแย้งกัน Nature ( Antithesis ) ทำให้เกิดขึ้นสูงขึ้นคือ Spirit (Synthesis) ซึ่งเฮเกลเชื่อว่ามนุษย์พัฒนาจิดสมบูรณ์ได้ถือว่ามนุษย์เจริญสูงสุด

นักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อมาร์กซ์อีกท่านคือ ลุดวิก ฟอยเออร์บัด กล่าวว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นกิจกรรมทางวัตถุ เชื่อว่าการที่จะรู้จักมนุษย์ต้องรู้จักที่ตัวเขา ศึกษาธรรมชาติฝ่ายวัตถุเป็นที่มาของความรู้สึกนึกคิดของเขาให้เข้าใจ แต่มาร์กซ์คิดว่าฟอยเออร์บัดนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ที่เขารู้จักนั้น คือมนุษย์ที่รู้จักกันในทางชีววิทยานั่นเอง ไม่ใช่ดำรงชีวิตแบบภายใต้เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ ซึ่งความคิดทั้งสองท่านนี้ มาร์กซ์ปฏิเสธปรัชญาจิตนิยมของเฮเกล แต่รับเอามรรควิธีวิภาษของเฮเกลมาใช้ในการแสวงหาความจริงจากสังคม และธรรมชาติโดยสลัดจิตนิยมของเฮเกลทิ้ง

วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ 
วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ คือ การนำหลักการวิภาษวิธีมาใช้ เพื่อศึกษาค้นคว้า และทำความเข้าใจชีวิตทางสังคม หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการประยุกต์หลักการ หรือมองชีวิตทางสังคมแบบวิภาษวิธี

แนวคิดของมาร์กซ์นั้นเห็นว่ามนุษย์ และชีวิตทางสังคมเป็นวัตถุอย่างหนึ่งย่อมมีการเคลื่อนไหว จึงต้องยึดหลักการวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มาร์กซ์เห็นว่า มนุษย์ในสังคมแต่ละยุคต่างทำการผลิต จากนั้นความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เหมาะกับสังคมยุคนั้นจึงอุบัติขึ้นเป็นที่มาของรากฐานทางเศรษฐกิจในสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดสภาวะทางสังคม เป็นสิ่งที่เข้าใจด้วยกระบวนการวิภาษวิธี มาร์กซ์ได้แบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็น 3 ยุค คือ
  1. ยุคทาส เกิดการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมระหว่างทาสกับนายทาส
  2. ยุคศักดินา เกิดการล้มล้างระบบศักดินาหรือมูลนายเจ้าของที่ดิน จากนั้นเป็นระบบทุนนิยมได้เกิดขึ้น
  3. ยุคนายทุน นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผู้ใช้แรงงานเป็นอิสระที่จริง แต่การดำรงชีวิตขึ้นอยู่กับนายทุน เพราะต้องขายแรงงานของคนแก่นายทุน เปิดโอกาสให้นายทุนกดขี่ขูดรีด
ระบบทุนนิยม 
มาร์กซ์ได้เขียนหนังสือทุนซึ่งมีสาระสำคัญคือ ระบบนายทุนเหมือนกับระบบเศรษฐกิจอื่น ๆในประวัติศาสตร์ สังคมมนุษย์มีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ผู้ได้ประโยชน์จากระบบนี้ คือ นายทุน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่วนผู้เสียผลประโยชน์ คือ กรรมกร ที่ทำงานแลกค่าจ้างจากนายทุน ซึ่งมาร์กซ์วางหลักการใหญ่ไว้ 2 หลักการ คือ
  1. ทฤษฎีมูลค่าจากกำลังงาน มาร์กซ์ได้เน้นว่า ปัจจัยอื่นนอกจากแรงงานไม่สามารถทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ แรงงานยังเป็นที่มาของราคาผลผลิต เช่น ถ้าใช้กำลังงานจากแรงงานของกรรมกร 10 หน่วย ก็จะทำให้เกิดค่า 10 หน่วยตามมาด้วย
     
  2. ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยกำไรที่พวกนายทุนเบียดบังจากผู้ใช้แรงงานเช่น สมมติว่าใน 7 ปอนด์ กรรมกรได้ค่าจ้าง 2 ปอนด์ ความจริงนั้นเงิน 2 ปอนด์ ที่กรรมกรได้รับน้อยกว่ามูลค่าของกำลังแรงงานที่กรรมกรควรจะได้ มาร์กซ์เรียกมูลค่าที่ไม่ได้จ่ายกับกรรมกรนั้นว่ามูลค่าส่วนเกิน
มาร์กซ์เห็นว่า ในที่สุดกรรมกรจะร่วมมือกันกำจัดนายทุน และระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นที่มาแห่งความทุกข์ยากของเขาไป และกรรมกรจะช่วยจัดระบบสังคมใหม่ คือ สังคมนิยม คือรัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด แต่ละคนจะทำงานให้รัฐ และได้รับผลตอบแทนตามกำลังงานของตน มาร์กซ์เรียกการปกครองนี้ว่า “เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ” และระบบนี้จะปูทางไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ต่อไป

เรื่องระบบนายทุน มาร์กซ์ให้ความเห็นว่ามนุษย์ในระบบนายทุนไม่มีความรู้สึกที่ต้องการเห็น ฟัง คิด รักษา จุดประสงค์อย่างเดียว คือ ต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของตนเหนือวัตถุทั้งหลาย ในที่สุดสิ่งที่มนุษย์ต้องการเป็นเจ้าของกลับกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือความเป็นอยู่ของมนุษย์ อันเป็นการนำไปสู่ปรากฎการณ์ของปัจจัยลดคุณค่าของมนุษย์

ปัจจัยลดคุณค่าของมนุษย์ มีดังนี้
  1. มนุษย์ในระบบทุนนิยมจะห่างเหินจากผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง
  2. มนุษย์ในสังคมทุนนิยมถูกแยกออก และห่างเหินจากผลผลิตของตัว โดยที่ตัวมนุษย์เองหาได้มีคุณค่า แต่สิ่งที่มนุษย์ผลิตกลับมีคุณค่าขึ้นมาแทน
  3. มนุษย์จะถูกแยกออกจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เนื่องมาจากการแข่งขัน และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์
ระบบสังคมทุนนิยม 
ระบบสังคมทุนนิยม คือ การที่เจ้าของปัจจัยการผลิต เปลี่ยนจากคนส่วนน้อยมาเป็นรัฐ ไม่มีผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะถูกจำหน่ายจ่ายแจกตามแรงงานที่ทำลงไป ไม่มีการขูดรีดระหว่างกัน ทั้งนี้ เพราะลักษณะทางสังคมของการผลิต สอดคล้องกับการที่สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน ความสัมพันธ์ทางการผลิต พลังทางการผลิต (Productive farce) ในทางสังคมเรียกว่า ฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Base) หรือโครงสร้างส่วนล่าง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสภาวการณ์ทางสังคม เช่น ระบบการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย ปรัชญา และศาสนา เป็นต้น เรียกว่า โครงสร้างส่วนบน โครงสร้างส่วนบนจึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างส่วนล่างดังแผนภาพ

ระบบคอมมิวนิสต์แบบทุนนิยม 
บุคคลแรกที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ คาร์ล มาร์กซ์ เขามีความคิดว่า วัตถุเป็นตัวกำหนดให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในประวัติศาสตร์หรือที่เรียกกันว่า “ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์” (historical materialism) และในการที่มาร์กซ์นำ “วัตถุ” มาใช้ในการตีความทางประวัติศาสตร์ มาร์กซ์ได้ย้ำให้เห็นว่า “วัตถุ” เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ฉะนั้น จึงได้เรียกทฤษฎีของมาร์กซ์ว่ามีลักษณะเป็น “economic determinism” อันหมายถึงว่า เศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อสังคม ทั้งในด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา ปรัชญา ศิลปวัฒนธรรม

การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมมุ่งสนใจส่วนที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ สนใจเรื่องการผลิต และการทำมาหากินของมนุษย์ว่าเป็นรากฐานของประวัติศาสตร์ และเมื่อพลังการผลิตเปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบให้ความสัมพันธ์ในการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้นการขัดแย้งกับโครงสร้างส่วนบนซึ่งพยายามที่จะรักษาสถานภาพดั้งเดิมจึงเกิดขึ้น ทำให้เกิดการปฏิวัติสังคมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันโครงสร้างส่วนบนอันได้แก่ ระบบการเมืองและวัฒนธรรม จะต้องเปลี่ยนแปลงจนสอดคล้องกับพลังการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์ เพราะฉะนั้นการมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมดังกล่าวแล้ว จะทราบได้ว่าพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นเรื่องของความขัดแย้งเชิงเศรษฐกิจ

การวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยถือเอาเศรษฐกิจเป็นตัวนำในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองแล้ว ย่อมมีความสำคัญต่ออุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอันมาก ทั้งนี้ เพราะมาร์กซ์มองการเมืองว่าเป็นการต่อสู้ของชนชั้น(social class) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขัดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และในทรรศนะของมาร์กซ์นั้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นได้แก่ ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองเท่านั้น สำหรับในสังคมนายทุน (capitalist) นั้น มาร์กซ์กล่าวว่า มีคนอยู่ 2 ชนชั้น ได้แก่ นายทุน หรือกระฎุมพี (capitalists or bourgeoisie) กับผู้ใช้แรงงาน หรือชนชั้นกรรมาชีพ (proletariat) ซึ่งมาร์กซ์มีความเห็นว่าต้องล้มล้างระบบนายทุน และเมื่อปราศจากนายทุนแล้ว สังคมคอมมิวนิสต์ ตามที่มาร์กซ์คิดก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นสังคมที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น และการขัดแย้งอีกต่อไป เพราะชนชั้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจจะสูญหายไป ทรัพย์สินจะตกเป็นของส่วนกลาง และแต่ละคนจะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามความจำเป็นในการยังชีพของตน โดยไม่คำนึงว่าใครจะทำงานมาก หรือทำงานน้อย และในที่สุดระบบเศรษฐกิจในสังคมคอมมิวนิสต์จะไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ (exploitation)โดยชนชั้นหนึ่งจากอีกชนชั้นหนึ่ง มาร์กซ์อธิบายต่อไปว่า เมื่อสังคมปราศจากเสียซึ่งชนชั้นแล้ว คือเมื่อไม่มีชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้ถูกปกครอง รัฐก็จะสลายตัวไป เพราะไม่มีความจำเป็นต้องมีการปกครองต่อไปอีก และกระบวนการสลายตัวของรัฐแบบนี้ มาร์กซ์เรียกว่า “รัฐจะร่วงโรยหมดสิ้นไปเอง” (the state will wither away)

สำหรับคำว่า “คอมมิวนิสต์” นั้น มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) ได้ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในการเขียน “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” (the Communist Manifesto) ในระหว่างปี ค.ศ. 1847-1848 ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญที่อธิบายถึงหลักการของคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญ “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสังคมว่า เป็นประวัติการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ทาสต่อสู้กับนายทาส ไพร่ต่อสู้กับเจ้าของที่ดิน กรรมกรต่อสู้กับนายทุน และในขั้นตอนสุดท้ายกรรมกรซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกขูดรีดมีความต้องการที่จะเปลี่ยนความสัมพันธ์ในการผลิตหรือระบบกรรมสิทธิ์และโครงสร้างส่วนบน (superstructure) อันได้แก่ ระบบกฏหมาย การเมือง วัฒนธรรม และระบบความคิด ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการขูดรีด

เมื่อพลังการผลิตของแรงงานได้พัฒนาถึงขั้นพร้อมเต็มที่ ก็จะเกิดการปฏิวัติสังคม ฝ่ายต่อสู้จะประสบชัยชนะ ซึ่งจะเป็นผลให้ระบบกรรมสิทธิ์ และโครงสร้างส่วนบนเปลี่ยนแปลงไป การปฏิวัติได้เกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีการเปลี่ยนแปลงระบบกรรมสิทธิ์ และระบบการปกครองสืบต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย นับตั้งแต่จากระบบทาสมาสู่ระบบศักดินา จนกระทั่งถึงระบบนายทุน และการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดก็ คือ การปฏิวัติล้มระบบกรรมสิทธิ์ และระบบนายทุน เพราะการปฏิวัติที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตจากคนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งไปสู่คนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นการขูดรีดยังคงมีอยู่ต่อไป แต่การปฏิวัติล้มล้างระบบนายทุนจะทำให้การขูดรีดสิ้นสุดลง เพราะจะมีการโอนปัจจัยการผลิตมาเป็นของส่วนรวม

ตามทฤษฎีของมาร์กซ์ ได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ทางชนชั้นของสังคมแต่ละยุค
  1. ยุคดั้งเดิม มนุษย์ในยุคนั้นมีจำนวนน้อย แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีมาก ไม่จำเป็นต้องมีการแก่งแย่งกัน สังคมในยุคดั้งเดิมจึงเป็นสังคมขนาดเล็ก ไม่มีชนชั้น และมนุษย์ยังไม่มีความสำนึกในเรื่องกรรมสิทธิ์ อาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล” ก็ได้
     
  2. ยุคทาส เมื่อพลังการผลิตพัฒนาขึ้น เกิดการเลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรรมขนาดใหญ่ จึงมักมีผลิตผลเหลือเฟือ ทำให้บุคคลกลุ่มหนึ่งที่แข็งแรงกว่ายึดเอาแรงงานของผู้อื่นมาเป็นของตน โดยให้แรงงานเหล่านั้นส่งผลผลิตให้แก่ตน ซึ่งในตอนเริ่มแรกได้มีการบังคับเอาเชลยศึกมาเป็นทาส ต่อมาก็ได้มีการนำเอาคนในสังคมเดียวกันมาเป็นทาส จึงทำให้เกิดระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและชนชั้น ตลอดจนการขูดรีด
     
  3. ยุคศักดินา สืบต่อมาจากการพัฒนาการผลิตของแรงงานนำไปสู่การขัดแย้งความสัมพันธ์ทางการผลิตของระบบทาส กล่าวคือ การกดขี่ทาสทำให้ทาสไม่สนใจในการผลิต ฉะนั้นการผลิตขนาดเล็ก โดยผู้เช่าที่ดินเริ่มมีประสิทธิภาพ ทาสได้รับการปลดปล่อยและการได้เช่าที่ดินทำมาหากิน โดยผู้เช่า และผู้สืบสายโลหิตต้องติดอยู่กับที่ดินนั้น ทำให้เกิดเป็นระบบศักดินา คือ เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกึ่งเป็นเจ้าของผู้ทำกินในที่ดิน ซึ่งเรียกว่าทาสติดที่ดิน หรือไพร่
     
  4. ยุคนายทุน เป็นยุคสืบต่อจากยุคศักดินา คือ เมื่อพลังการผลิตได้พัฒนามาถึงระดับการผลิตเพื่อการขยายผลิตผลเป็นสินค้า และเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องจักร จึงเกิดระบบนายทุนแทนระบบศักดินา ไพร่ได้รับการปลดปล่อย ส่วนผู้ทำงานในโรงงาน หรือกรรมกร ไม่มีปัจจัยการผลิต คงมีแต่แรงงานขายเลี้ยงชีวิต ขณะเดียวกันนายทุนกลับร่ำรวย และสะสมกำไรไว้ในมือ การขูดรีดได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นเจ้าของที่ดินกับไพร่ มาเป็นการขูดรีดระหว่างนายทุนกับผู้ใช้แรงงาน โดยนายทุนกดค่าจ้างแรงงาน และเอาค่าส่วนเกินของแรงงานเป็นของนายทุน (surplus value) คือมูลค่าของสินค้าแรงงานผลิตที่ได้เกินไปกว่าค่าจ้าง
เมื่อพิจารณาทรรศนะของมาร์กซ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และการเมืองของมนุษย์ได้วิวัฒนาการโดยสันติวิธี แต่เป็นระบบเศรษฐกิจ และการเมืองที่ผูกขาดโดยคนกลุ่มน้อย คือผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งขูดรีดคนกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดการต่อสู้ และการขัดแย้ง มาร์กซ์เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์มนุษย์นั้น เป็นเรื่องของการต่อสู้ และการปฏิวัติ มาร์กซ์ และเองเกลส์ได้เน้นให้ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ได้ก้าวสู่ยุคพัฒนาขึ้นโดยลำดับ

ฉะนั้น เขาทั้งสองจึงมีความเห็นว่า ระบบสังคมนิยม หรือระบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายที่ดีที่สุดของมนุษย์ จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นการเกิดขึ้นตามกฎไดอะเล็กติค ฉะนั้น มาร์กซ์และเองเกลส์ จึงเชื่อว่าสังคมนิยมตามแนวความคิดของเขาเป็น “สังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์”

มาร์กซ์มีความเชื่อมั่นว่า ชนชั้นกรรมาชีพสามารถมีจิตสำนึกได้เองว่าฝ่ายตนถูกขูดรีด โดยได้รับ หรือผ่านทางประสบการณ์ในการทำงาน และการดำรงชีพ ครั้นเมื่อสำนึกแล้วชนชั้นกรรมาชีพจะร่วมมือกันปฏิวัติล้มล้างนายทุน ดังปรากฏใน “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) ซึ่งมาร์กซ์และเองเกลส์ร่วมกันร่างไว้ สรุปได้ว่า ทุกคนจะมีเสรีภาพ ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับชัยชนะขั้นสุดท้ายของชนชั้นกรรมาชีพ โดยกระบวนการของการปฏิวัติ และสังคมจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมาร์กซ์เชื่อว่าเป็นยุคสุดท้าย คือเป็นสังคมที่ไม่มีการขัดแย้งกันทางชนชั้น เป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น (classless society) ไม่มีกฎหมาย ไม่มีการปกครอง และรัฐจะต้องอันตรธานไป (state will wither away)

ทฤษฎีปฏิวัติสังคมของมาร์กซ์ ได้รับการนำไปขยายความต่อเติมโดยเลนิน (Lenin) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศรัสเซีย และเหมา เจ๋อ ตุง (Mao Tse-Tung) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในจีน

ในส่วนที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้น จากการศึกษาวิวัฒนาการของลัทธินี้เป็นที่ยอมรับกันว่า วิวัฒนาการของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันเป็นการผสมผสานกันระหว่างความคิดของมาร์กซ์ และเลนิน ที่เรียกกันว่า “ลัทธิมาร์กซิสม์ และเลนินนิสม์” (Marxism and Leninism)

สรุปเข้ม ภาษาอังกฤษ O-NET + GAT

ติวเข้ม GAT วิชาภาษาอังกฤษ

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ปรัชญาการเมืองของอาริสโตเติล