วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน


ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (เกิดวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743[วันที่แบบเก่า: 2 เมษายน ค.ศ. 1743] - วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826)[1] เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 3 (ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 - วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1809) และผู้ประพันธ์ "คำประกาศอิสรภาพ" (Declaration of Independence) ของสหรัฐอเมริกา เขาคือหนึ่งในบุคคลที่น่ายกย่องที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
ความสนใจของเขาไม่มีขอบเขตและการประสบความสำเร็จของเขายิ่งใหญ่และหลากหลาย เขาคือนักปราชญ์ นักการศึกษา นักธรรมชาตินิยม นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก ช่างประดิษฐ์ ผู้บุกเบิกในกสิกรรม วิทยาศาสตร์ นักดนตรี นักเขียน และเขาคือโฆษกชั้นแนวหน้าในการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในยุคของเขา
ในฐานะประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สันทำให้อำนาจของรัฐบาลเข้มแข็ง เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองในการควบคุมรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา
ทอมัส เจฟเฟอร์สันเป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญนิกเกิล (5 เซนต์)

การทำงาน

เจฟเฟอร์สันอายุเกือบ 58 ปีแล้วเมื่อเขาเป็นประธานาธิบดี เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่ 2 วาระ เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งได้รับการแนะนำในวอชิงตัน ดี.ซี. เขาศรัทธาในประชาชนและนับถือความปรารถนาของพวกเขา เขาลดภาษีต่างๆ ยกเลิกสำนักงานซึ่งเขาคิดว่าไม่จำเป็นและพยายามจะปล่อยให้ทุกคนมีเสรีภาพเท่าที่จะเป็นไปได้
เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งเป็นผู้นำพรรคการเมือง เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่น่าจดจำต่อการเป็นประธานาธิบดีของเจฟเฟอร์สัน คือ การที่เขาซื้อเขตแดนหลุยเซียน่าจากฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1803 ทำให้อเมริกามีขนาดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เจฟเฟอร์สันเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้เขียนคำประกาศเอกราชและเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา
เขายังเป็นนักการทูต สถาปนิก นักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ เป็นทนาย ผู้บุกเบิกโรงเรียนของรัฐ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียในปี 1819และเป็นผู้อุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการเรียนรู้และอักษรศาสตร์
เขามีชื่อเสียงมากในฐานะผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตยในยุคของเขา และมีชื่อเสียงมากขึ้นในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดผู้เผด็จการมากมายหลายคนในโลก

4 กรกฎาคม 1826

ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปี ของการประกาศอิสรภาพและเป็นวันที่ เจฟเฟอร์สัน เสียชีวิต
สองศตวรรษหลังจากเขาเกิด มีการสร้างที่ระลึกถึงเจฟเฟอร์สันในวอชิงตัน ดี.ซี. เขาได้อยู่ร่วมกับ วอชิงตัน และลินคอล์น ท่ามกลางผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเมริกา

อ้างอิง

  1. ^ The birth and death of Thomas Jefferson are given using the Gregorian calendar. However, he was born when Britain and her colonies still used the Julian calendar, so contemporary records (and his tombstone) record his birth as April 2, 1743. The provisions of the Calendar (New Style) Act 1750, implemented in 1752, altered the official British dating method to the Gregorian calendar with the start of the year on January 1 – see the article on Old Style and New Style dates for more details. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99




วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดของ ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] กับบางเสี้ยวแห่งวิกฤตการเมืองไทย



ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง นักประพันธ์เพลงที่ฝึกฝนด้วยตัวเองแห่งยุคแสงสว่างและเป็นนักปรัชญาสังคมชาวสวิส เชื้อสายฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส [French Revolution] ใน คศ.1789 รุสโซ เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2255 มารดาของเขาเสีย ชีวิตหลังจากคลอดเขาได้เพียง 9 วัน บิดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนรุสโซ อายุ 6 ขวบ พ่อของเขาได้ติดคุก เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับลุง รุสโซหัดอ่านหนังสือมา ตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนรุสโซ อายุ 16 ปี ได้ออกจากเจนีวา เดินทางท่องเที่ยวและได้หางานทำไป เรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี พศ.2293
 The Social Contract, or Principles of Political of political Right เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้าง ชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก อีก 11 ปี ต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกชื่อ Julie,ou la nouvelle Holoise [The New Heloise] จากนั้นก็ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่และ The Confessions of Jean-Jacques 

Rousseau รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดีแต่สังคมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว แปดเปื้อน และมนุษย์ มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัดแต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางส่วนโดยการทำสัญญาประชาคม (The social Contract ) เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกันและกัน รุสโซกล่าวว่า “ มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพแต่ทุกหนทุกแห่ง เขาต้องตกอยู่ในเครื่องพันธนาการ “ ความคิดของรุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 2332 อย่างมาก และได้พัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม (Socialist theory)และมีส่วนสำคัญของการพัฒนาการทางแนวคิด โรแมนติก (Romanticism)


แนวคิดโดยย่อ


ปรัชญาของรุสโซ
รุสโซสอนให้คนกลับไปหาธรรมชาติ (Back to Nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่าธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้เป็นคนเลว“ และ "เหตุผลมีประโยชน์แต่มิใช่คำตอบของชีวิต มนุษย์จึงควรต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของตนเองให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติหรือเป็นคนเถื่อนใจธรรม (Nobel Savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (เป็นสภาวะเดียวกับสัตว์ อื่นๆและเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรมและสังคม) แต่กลับถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคมโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมเป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ โดยรุสโซได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น แต่กลับทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน กล่าวคือพัฒนาการเชิงวัตถุจะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค
ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงสมัยใหม่ รุสโซ่เสนอว่ามนุษย์ ในยุคแรกสุดเป็นมนุษย์ครึ่งลิงซึ่งอยู่แยกจากกัน โดยมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ตรงที่มนุษย์มีความต้องการอย่างอิสระ (Free will)และแสวงหาความสมบุรณ์แบบ ซึ่งมนุษย์ในยุคบุกเบิกจะมีความต้องการพื้นฐานเพื่อดูแลตนเอง ขณะที่เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นความรู้สึกห่วงหาอาทรและความสงสารจะเกิดขึ้นตามมาซึ่งเรียกว่าเป็นการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา กล่าวคือมีการให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของผู้อื่น โดยรุสโซเรียกความรู้สึกใหม่ี่ที่เกิดขึ้นว่า "จุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์"

สาระของแนวคิด

รุสโซกล่าวว่า มนุษย์เกิดมาเสรีแต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ "เป็นการตกผลึกทางความคิดของรุสโซ ที่ได้ก่อตัวขึ้นก่อนหน้านี้ และงานเขียนชิ้นสำคัญของรุสโซ ก่อน Social Contract คือ Discourse on the Origin and the Foundations of Inequality Among Men หรือเรียกว่า The Second Discourse ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาThe Second Discourse ก่อน
The Second Discourse เป็นบทความที่รุสโซ เขียนเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือมนุษย์ดำเนินชีวิตด้วยการเป็นผู้กระทำที่เสรี แต่สัตว์เลือกหรือปฏิเสธจากสัญชาตญาณ แต่มนุษย์กระทำด้วยเสรีภาพ ตัวอย่างเช่นการที่ธรรมชาติบังคับควบคุมสัตว์ทุกชนิดโดยสัตว์ทั้งหลายต้องเชื่อฟัง มนุษย์เองรู้สึกถึงแรงกระตุ้นดังกล่าวเช่นกัน แต่มนุษย์ตระหนักดีว่า ตัวเขาเองนั้นมีเสรีภาพที่จะ นิ่งเฉยหรือต่อต้าน(ธรรมชาติ) ในจิตสำนึกแห่งเสรีภาพนี้ จิตวิญญาณของเขาได้แสดงออกมาซึ่งเป็นการกระทำของ จิตวิญญาณอันบริสุทธ์ นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีความสามารถในการทำตัวเองให้สมบูรณ์ (The faculty of self-perfection) อันเป็นคุณสมบัติของความสามารถที่พัฒนาคุณสมบัติอื่นๆทั้งหมดอย่างเป็นผลสำเร็จด้วยเงื่อนไขที่เอื้ออำนวย โดยได้นำมาซึ่งการเบ่งบานของปัญญาความรู้และข้อผิดพลาด ความชั่วและคุณธรรมความดี และจากคุณสมบัตินี้ในระยะยาวเป็นตัวทำให้เขาเป็นทรราชย์
คนป่า (Savage man)โดยธรรมชาติ ย่อมเริ่มต้นจากการกระทำแบบสัตว์แท้ๆ ที่กระทำตามสัญชาตญาณ หรือชดเชยสัญชาตญาณที่เขาไม่มีด้วยคุณสมบัติที่ทดแทนกันได้ตั้งแต่แรก และจากนั้นก็ยกระดับให้อยู่เหนือธรรมชาติ การรับรู้และความรู้สึก คือสภาวะแรกซึ่งมีร่วมกับสัตว์ทั้งมวลเจตจำนงมุ่งมั่นหรือไม่ ปรารถนาหรือกลัว ซึ่งก็คือการกระทำอย่างแรกและเหนืออื่นใดของจิตของเขาจนกระทั่งเงื่อนไขใหม่ได้ก่อให้เกิดพัฒนาการใหม่ในตัวของมันเอง
การตีความสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ รุสโซจินตนาการสภาวะธรรมชาติหรือสภาวะแรกเริ่มของมนุษย์ว่า มนุษย์อยู่กันอย่างอิสระจากกันและกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆระหว่างกัน มิได้ต้องพึ่งพากันและกันไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดๆที่มนุษย์จะต้องมีปฏิ สัมพันธ์กัน เพื่อการอยู่รอด มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตของตัวเอง ไปได้ สาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตได้ดดยลำพังก็เพราะมนุษย์สามารถตอบสนองความ ต้องการของตัวเองได้ และสาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตโดยลำพังก็เพราะความต้องการของมนุษย์ใน สภาวะแรกเริ่มนั้น มีไม่มากนักและไม่สลับซับซ้อน เพราะรุสโซเชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์ในสภาวะแรกเริ่มจะจำกัดอยู่เพียงความต้องการทางชีวภาพ เท่านั้น นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช โดยดูจากลักษณะของฟันและอวัยวะร่างกายของมนุษย์ที่ไม่เอื้อในการล่าสัตว์ และไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุที่สภาพธรรมชาติของโลก ในระยะแรกเริ่ม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้โดยไม่ต้องมีปฏิ สัมพันธ์กัน เพราะรุสโซ เชื่อว่า เมื่อมนุษย์แต่ละคนสามารถตอบสนองความต้องการของตัว เองอย่างพอเพียงแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องไปปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่น

รุสโซเชื่อว่าในสภาวะแรกเริ่มหรือสภาวะธรรมชาติความต้องการทางเพศของมนุษย์เกิดจากแรงขับทางชีวภาพ และมีระยะเวลาที่แน่นอนจำกัด ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อมนุษย์ต่างเพศมาพบเจอกันต่างก็จำต้องสนองตอบความต้องการทางเพศของกันและกัน และเมื่อเพียงพอแล้วต่างก็แยกย้ายจากกันไปดำเนินชีวิตอย่างอิสระตามปกติเหมือนเดิมในสภาวะธรรมชาติต่อไป มิต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์ไม่จำเป็นต้องสะสมอาหารหรือของบริโภคใดๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของคู่นอนที่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน เขาจึงไม่มีความจำเป็นต้องหวงแหนริษยาหรือมุ่งมั่นที่จะได้หรือรักษาคู่นอนของเขา หรือแย่งชิงคู่นอนของคนอื่นมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว
ด้วยเหตุนี้ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงเรียบง่ายไม่มีความขัดแย้งต่อกัน แต่กระนั้นมนุษย์ก็ยังดำเนินชีวิตอันดิบเถื่อนไร้อารยธรรมไม่แตกต่างจากสัตว์ รุสโซ ขนานนามว่า เป็น “ คนป่าผู้ทรงเกียรติ “ (noble savage) คือเป็นคนป่าเถื่อน เนื่องจากเขาดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ นอนกับดินกินกับทราย และเป็นผู้ทรงเกียรติ เพราะมีจิตใจดีบริสุทธ์ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่มีความต้องการอันไม่เคยพอ ไม่มีความอิจฉาริษยามุ่งร้ายต่อกัน ดังนั้นมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงดำเนินชีวิตเยี่ยงคนป่าผู้ทรงเกียรติ และเป็นเสรีชนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในเงื่อนไขที่แต่ละคนไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆต่อกัน

อิสรเสรีของมนุษย์ผู้หญิงในสภาวะธรรมชาติ

รุสโซอธิบายว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์เพศหญิงให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ผู้ชาย อีกทั้งยังตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้เองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ชายอีกด้วย ดังนั้นผู้หญิงในสภาวะธรรมชาตินั้นมีความอดทนและมีความสามารถดูแลตัวเองได้โดยลำพัง หลังจากนั้นนางจะเลี้ยงดูบุตรไปอีกระยะหนึ่งและจะดูแลเด็กอีกไม่นานเพราะเด็กสามารถดูแลตัวเองได้เร็วกว่าเด็กที่เติบโตมาจากสังคมที่เจริญแล้ว ในที่สุดเด็กก็จะจากแม่ไปเองมีชีวิตอิสระตามลำพังด้วยตัวเอง แม้ว่าถ้ามีโอกาสได้พบเจอลูกผู้ให้กำเนิด นางก็ไม่สามารถจำกันแลกันได้เป็นเหมือนคนแปลกหน้า

อารมณ์ความรู้สึกกับการกำเนิดชีวิตครอบครัว

รุสโซเชื่อว่าการเกิดขึ้นของครอบครัวมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของความบังเอิญ และอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเหตุผลสำคัญอื่นใดแฝงไว้ โดยบรรยายไว้ว่าในช่วงฤดูสืบพันธ์ของมนุษย์อาจมีบางครั้งบางคราวที่มนุษย์ เพศชายและหญิงจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันนานกว่าปกติ ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่หวานชื่นที่สุดต่อกันและกันทำให้ทั้งสองมีความรู้สึกว่าการอยู่ร่วมกันนั้น ให้ความอบอุ่นและความรู้สึกที่ดีที่ผูกพันกว่าการแยกจากกันไปเฉยๆ ดังนั้นเขาทั้งสองจึงเลือกที่จะอยู่ด้วยกันต่อไป จึงเกิดเป็นครอบครัวของมนุษย์

ในความคิดของรุสโซนั้นเกิดจากความบังเอิญและเสรีภาพในการที่จะเลือกทำเช่นนั้น อันเป็นการกระทำที่เสรี ซึ่งได้เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติของมนุษย์ตามที่ได้เกิดมา คือเขาทั้งสองนั้นมิได้มีอิสรเสรีสมบูรณ์เหมือนดังเดิม กลับมีความรู้สึกผูกพันต่อกันและกัน ซึ่งถือว่าเป็นบ่อเกิดแห่งพันธนาการของมนุษย์ซึ่งความผูกพัน ดังกล่าว ทำให้มนุษย์อ่อนแอลง เพราะมนุษย์มีห่วงใยกังวล ไม่สามารถตัดสินใจดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระโดยลำพัง เหมือนเช่นเดิม เมื่ออิสรเสรีภาพของมนุษย์สุญหายลดทอนลง แต่เขาได้มาซึ่งความสุข ความอบอุ่น และความผูกพันทางอารมณ์และจิตใจ จากเริ่มต้นที่เป็น “มนุษย์เกิดมาเสรีแต่บัดนี้ เขาเริ่มเข้าสู่ พันธนาการ” จาก การตัดสินใจโดยเสรีที่เลือกมาอยู่ร่วมกัน จึงได้เกิดการแบ่งงานกันทำอันเป็นผลมาจากพันธนาการ ของกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาความเป็นอยู่ของตนมีเวลาคิดสร้าง สรรค์สิ่งต่างๆ นับว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาติ จากสภาพคนป่าที่ดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ พัฒนาเป้นการอยู่กินเป็นครอบครัว แต่กระนั้น เค้าลางของการสูญเสียการเป็น ผู้ทรงเกียรติ” ก็ เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเกิดจากความหวงแหนคู่ของตน และอารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจอื่นๆที่ตามมาเขาไม่ สามารถรู้สึกผูกพันคู่นอนเพียงเท่าที่เขาผูกพันกับผลไม้ที่เขากินได้อีกต่อไปได้แล้ว และอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ ที่รุสโซ เรียกว่า “ Sweetest Sentiment”

กำเนิดสังคม

รุสโซอธิบายการกำเนิดสังคมว่ามีสาเหตุมาจากการเกิดและการขยายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปฏิ สัมพันธ์ระหว่างครอบครัวก็บังเกิดขึ้น รุสโซ ชี้ถึงปัจจัยสำคัญคือ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความ รักแบบโรแมนติก เขาเน้นถึงบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจที่มีต่อการก่อตัวของสังคมเมือง (civil –Society) ดังที่กล่าวไว้ว่าคน แรกที่กั้นรั้วแผ่นดินคือผู้เริ่มสังคมเมืองที่แท้จริง” การคิดค้นการเกษตรกรรมที่นำไปสู่การสร้าง กฎ กติกา เพื่อความยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดแล้ว ด้วยการแนะนำของผู้มั่งคั่ง (the rich) ก็จะนำไปสู่การสถาปนาการเมืองการปกครองขึ้นมาหมายความว่าการเกิดการปกครองขึ้นมานั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าปราศจาก เงื่อนไขของการเกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวในที่ดิน มาก่อนหน้า และแท้ที่จริงแล้ว พัฒนาการการเกษตรที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลพวงมาจากการเกิดครอบครัวก่อนหน้านี้ แต่กระนั้น ก็เสนอด้วยว่า “เศรษฐกิจการเกษตรในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพัฒนาการของความ ต้องการทางเพศ (erotic developments) เรื่อง เพศ (sexuality) คือสะพานนำไปสู่การเมือง โดยมีนัยของการเปลี่ยนแปลงเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์เป็นปัจจัย เงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่งในการกำเนิดสังคมการเมือง รุสโซ อธิบาย ความขัดแย้ง ความไร้ระเบียบ (disorder) ที่อุบัติขึ้นเมื่อสังคมได้ถือกำเนิดไว้ดังนี้คือความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะของมนุษย์ในสังคมไม่เอื้ออำนวย หรือไม่เหมาะสมกับพวกเขา ความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมนุษย์มองมนุษย์ด้วยกันว่า เป็นศัตรูที่แข่งขันกับพวกเขา เพื่อความโดดเด่นหรือเพื่อความเหนือกว่า หรือเพื่อสิ่งที่พึงปรารถนา และสุดท้ายความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ภายในปัจเจก-บุคคล เมื่อจิตใจของเขาตกอยู่ภายใต้พันธนาการของกิเลสตัณหาอันไม่มีขีดจำกัด อารยธรรมหรือความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการนี้ทำให้ศีลธรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์เสื่อมทรามลงเสียมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น เมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสของศิลปะวิทยาการ เสรีภาพที่เคยมีและเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ก็ได้สูญหายไป
ด้วยเหตุนี้เองที่รุสโซ ได้กล่าวขึ้นต้นใน The Social Contract ไว้ว่า “ มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ในพันธนาการ ใครที่คิดว่าตนเป็นนายคนอื่น ย่อมไม่วายจะกลับเป็นเสียทาสยิ่งกว่า" ความผันแปรเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบ อะไรเล่าที่จะพึงทำให้ความผันแปรนั้นกลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฏหมาย ข้อนี้คิดว่าจะตอบปัญหาได้เพราะในสภาวะสังคมมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดระเบียบเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เหยียบหัว แย่งชิง หลอกลวง ทรยศ และทำลายซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมเขาเสนอให้มีการสร้าง หรือการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นมา นั่นคือเราจะทำอย่างไรที่จะหารูปแบบของการอยู่ร่วมกันที่ สามารถปกป้องบุคคล และสิ่งที่พึงปรารถนาของสมาชิกแต่ละคนในสังคม โดยการร่วมพลังของทุกคน และเป็นรูปแบบการอยู่ร่วมกันที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน แม้ว่าจะรวมตัวเข้ากันกับคนอื่น แต่ก็มิได้ต้อง เชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเอง และยังคงมีอิสรเสรีเหมือนแต่ก่อน คำตอบนั้นคือ “สัญญาประชาคม “ (Social Contract ) คือคำตอบสำหรับการหลุดจากสภาวะอันไม่อำนวยต่อการดำรงชีวิตความเป็นมนุษย์มาทำสัญญาร่วมกัน หมายถึงการยอมเสียเสรีภาพตามธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของ เขาเพื่อแลกกับเสรีภาพทางสังคมการเมือง รุสโซ กล่าวว่า แก่นของสัญญาประชาคม คือการที่พวกเราแต่ละคนยอมสละตัวเอง และอำนาจหน้าที่ ที่เขามีอยู่ทั้งหมดให้กับส่วนรวม ภายใต้การนำสูงสุดของ“ เจตจำนงร่วม “ และ ในฐานะองค์รวม เราได้รวมสมาชิกทุกคนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้ง หมดที่แบ่งแยกไม่ได้ อันประกอบด้วยจำนวนสมาชิกที่มีจำนวนเท่ากับผู้ออกเสียงในที่ประชุมซึ่งทำให้ องค์รวม ดังกล่าวมีชีวิต มีเจตจำนง มีตัวตน และมีเอกภาพ ของตัวเองขึ้นมา องค์รวมทางการเมืองหรือ บุคคลสาธารณะที่ก่อตัวขึ้นนี้ คือสังคมเมือง หรือสาธารณรัฐ และในสถานะที่เป็นผู้ถูกกระทำซึ่งเรียกว่ารัฐ แต่ถ้าอยู่ในสถานะ ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ (the sovereign) และเมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์อธิปัต ย์ด้วยกัน เราเรียกว่า อำนาจ (power)และสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ เรียกว่า“ ประชาชน “ และเรียกว่า “ พลเมือง “ ตราบเท่าที่พวกเขามีส่วนร่วมในอำนาจอธิปไตย และเรียกพวกเขาว่า“ ราษฎร “ ตราบเท่าที่พวกเขาอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ

รุสโซกับโลกปัจจุบัน

ในเรื่องมิติแห่งเวลารุสโซ ไม่เชื่อว่าสังคมจะสามารถย้อนเวลากลับไปสู่สภาวะอันเปล่าเปลือยเหมือนเช่นตอนแรกเริ่มได้อีกและที่สำคัญรุสโซเชื่อในความสามารถในการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ 


ดังนั้นเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ย่อมต้องเดินหน้าต่อไปมากกว่าที่จะถอยหลังมนุษย์และเจตจำนงเสรีในตัวเขาย่อมจะช่วยให้เขาก้าวเดินต่อไป และ รุสโซ เชื่อว่า มนุษย์สามารถคิดค้นและออกแบบสร้างสรรค์ “ เจตจำนงทั่วไป “ อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ในการสร้างระเบียบใหม่ให้กับสังคมที่ไร้ระเบียบที่มิได้เป็นผลผลิตของธรรมชาติที่มีระเบียบของมันเอง ที่ครั้งหนึ่งมนุษย์อาจเคยอยู่กับมันมานานแล้ว และไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนไปได้จะทำได้เพียงแค่จินตนาการ

แนวคิดที่สำคัญของรุสโซ

1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่า นั้น ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.การ เป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ แนวคิดนี้ของรุสโซ แตกต่างกับ โทมัส ฮ๊อบส์ กล่าวว่า สันติภาพ หรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น แต่รุสโซ กล่าวว่าสันติภาพ และความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพจึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก
4.สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง เจตจำนงทั่วไป ของประชาชน
8.การ เลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ เห็นว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวคิดรุสโซ เป็นแนวคิดการปกครองแบบตรง ที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมี ประชากรเป็นจำนวนมาก และในลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยโดย ตัวแทน ทั้งหมด

ข้อความที่ว่า “ มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ “ นั่นคือการตก ผลึกทางความคิด
รุสโซ ก่อนหน้างานเขียนชิ้นสำคัญ ก่อน “ Social Contract “ ก็คือ “ The Second Discourse “
จากเริ่มต้นที่ มนุษย์เกิดมาเสรี มีอิสรเสรีภาพ ภายใต้สภาวะธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึง
เรียบ ง่าย ไม่มีความขัดแย้ง แต่เมื่อมนุษย์ตัดสินใจโดยเสรี ไม่มีใครมาบังคับ และเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่หลายๆ คู่ก็เป็นสังคมจนกลายเป็นรัฐ มีการแบ่งงานกันทำ อันเป็นผลมาจากการที่มี พันธนาการต่อกันและกัน ซึ่งเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ พัฒนาความเป็นอยู่ของตัวเอง มีเวลาสร้างสรรค์คสิ่งต่างๆ นั่นคือก้าวแรกของการ พัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาตินั่นเอง

แนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้หรือนำมาใช้ในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ของไทย

ความจริงที่ว่ารุสโซคือต้นแบบประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันตามที่นักวิชาการ นักการเมืองบางท่านได้กล่าวอ้างขึ้นมาเพื่อรองรับความชอบธรรมทางการเมืองของตนเอง การที่รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศทำหน้าที่ในการบริหารราชการของประเทศนั้นย่อมมีอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยสมบูรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลควรจะปล่อยให้ภาคประชาชนได้มีสิทธิเสรีภาพ ในการที่จะแสดงออกทางความคิดเห็นอย่างเสรี ที่จะเห็นด้วย สนับสนุน หรือต่อต้าน คัดค้าน การทำหน้าที่บริหารของรัฐบาล แต่ภาคประชาชน ต้องกระทำภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้มีบทบัญญัติไว้หน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่มีแค่ บริหารบ้านเมือง ใช้งบประมาณแผ่นดิน และบังคับใช้กฎหมายเท่านั้นแต่ รัฐบาลจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริม สนันสนุน เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในทางการเมืองของ ภาคประชาชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พร้อมไปกับพรรคการเมือง ซึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วแต่รัฐบาลจะ ต้องคอยดูแล คอยกำกับ คอยปกกัน ภาคประชาชนไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตที่กำหนด ไว้ภายใต้กฎหมายโดยไม่ให้ไปกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือความมั่นคงของประเทศตัวอย่างเช่น

กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 นับว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการใช้สิทธิเสรีภาพของภาคประชาชนที่เกินขอบเขต ถ้ารัฐบาลไม่ยอมตัดสินใจทำอะไรหรือมีมาตรการอะไรที่จะดำเนินการกับภาคประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินขอบเขตที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย เช่นนี้ ถือว่ารัฐบาลส่งเสริมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย สังคม ประเทศชาติจะวุ่นวาย กระทบกระเทือนไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์ภายในประเทศไทย แต่การปิดสนามบินแห่งชาติแห่ง ได้ส่งผลกระทบถึงประเทศอื่นในภุมิภาคอาเซี่ยน ในที่สุดรัฐบาลก็จะเสื่อมอำนาจ และหมดอำนาจไปในที่สุดเพราะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ไม่มีคน คนเชื่อฟัง ทำตามคำสั่งของรัฐบาล ทำให้เกิด “ อนาธิปไตย “ ขึ้นได้
*ฉะนั้นการบริหารปกครองบ้านเมืองของรัฐบาลจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางส่วนเพื่อความสงบสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ แต่ต้องทำอย่างเหมาะสมและเท่าที่จำเป็นจริงๆ หากรัฐบาลนิ่งเฉยปล่อยให้กลุ่มคนมีเสรีภาพมากจนเกินขอบเขตไปจนไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นสาเหตุลุกลามใหญ่โต เกินแก้ไขได้ เกิดความวุ่นวายทุกหนแห่ง จนกลายเป็นเกิดการจลาจลและถึงขั้นกลายเป็น “ สงครามกลางเมืองอย่างแน่นอน


http://phatrasamon.blogspot.com/2009/03/jean-jacques-rousseau_14.html  บทความคัดลอก

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระสวรรค์วรนายก


ชาติภูมิ     พระสวรรค์วรนายก นามเดิม ทองคำ จิตรธร
       เป็นบุตรกำนันหนุน นางสายบัว จิตรธร
       เกิดที่หลังวัดสวรรคาราม ตำบลเมืองสวรรคโลก
       (เดิมเป็นตำบลพิณพาทย์ อำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก)
       อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
       เกิดเมื่อปีฉลู พ.ศ.2420 


       พระสวรรค์วรนายกมีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันเป็นชายทั้งสิ้นรวม 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนโต คือ
       1. พระสวรรค์วรนายก
       2. พระครูธรรมวโรทัย (เพชร จิตรธร)
       3. หลวงพินิจสรรพากร (แจ่ม จิตรธร) รับราชการเป็นสรรพากรจังหวัดสวรรคโลก
       4. นายเจิม จิตรธร เมื่อบวชมีฐานานุกรมว่า พระวินัยธร ชาวบ้านเรียกพระวินัยธรเจิม
       5. นายบาง จิตรธร รับราชการเป็นเสมียนศาล จังหวัดสวรรคโลก
      พี่น้องของท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ได้มรณภาพและถึงแก่กรรมไปก่อน 3 คน คือพระครูธรรมวโรทัยหลวงพินิจสรรพากร และนายเจิม จิตรธร ส่วนนายบาง จิตรธร ถึงแก่กรรมภายหลังท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกมรณภาพ
      การศึกษาและสมณศักดิ์
          เมื่อเยาว์วัย ได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์แดง เจ้าอาวาสวัดกลาง (วัดสวรรคาราม) ต่อมาได้บวชเป็นเณรและได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุได้ 20 ปี คือ พ.ศ.2440 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "โสโณ" ท่านได้ขะมักเขม้นสนใจค้นคว้าศึกษาพระปริยัติธรรมมิได้ละเว้น ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัด เรียกกันเป็นสามัญของผู้ที่คุ้นเคยว่า "พระปลัดคำ" เมื่ออุปสมบทได้ 10 พรรษา ตรงกับ พ.ศ. 2450 ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูสวรรค์วรนายก 
          ต่อมาใน พ.ศ. 2476 พระครูสวรรค์วรนายก ได้รับสมณศักดิ์เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญดังปรากฏในสัญญาบัตรว่าให้พระครูสวรรค์วรนายก วัดสวรรคาราม จังหวัดสวรรคโลก เป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระสวรรค์วรนายก ธรรมสาธกวินัยวาที สังฆปาโมกข์
          ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชตามราชทินนามเดิมเมื่อท่านลงนามจะมี .ร ต่อท้ายทุกครั้งว่า "พระสวรรค์วรนายก .ร"
          ในขณะที่ท่านจำพรรษา ณ วัดสุทัศน์ฯ พระสวรรค์วรนายก เป็นปลัดของเจ้าคณะมณฑลราชบุรี และเป็นเลขานุการเจ้าคณะมณฑล ได้เคยไปตรวจงานด้านการศึกษาในเขตจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
          โดยเหตุที่บ้านเกิดของท่านอยู่บริเวณหลังวัดสวรรคารามและเคยเรียนหนังสือที่วัดนี้มาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงปรากฏว่าแม้ท่านจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะใหญ่ ณ วัดสว่างอารมณ์ ท่านก็ไม่เคยไปอยู่วัดสว่างอารมณ์เลย ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดสวรรคารามโดยตลอด
          ในขณะที่เป็นเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลกนั้น ท่านได้ขอเปลี่ยนนามวัดกลาง ให้มีชื่อในทางราชการว่า "วัดสวรรคาราม" ท่านสร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำรอกันตลิ่งพังหน้าวัดหลายปี ต่อมาได้ปลูกกอไผ่แทนจึงอยู่ทนมาได้ จนกระทั่งเทศบาลเมืองสวรรคโลกได้ทำเขื่อนเรียงหินกันตลิ่งพังดังที่เห็นปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ได้เริ่มสร้างกุฏิตึกเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2465 โดยจ้างชาวจีนคนหนึ่ง เรียกว่า จีนแส มาดำเนินการสร้างด้วยเงินนับหมื่นบาท ถ้าคิดเป็นเงินในสมัยปัจจุบันนี้ก็เป็นเงินสองสามล้านบาท ต่อมานายฮกเลี้ยง สุนอนันต์ นายช่างแขวงการทางจังหวัดสวรรคโลก (บิดาเป็นคนจีน ท่านเป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดีคนหนึ่งของจังหวัดสวรรคโลก สำเร็จการศึกษาจากประเทศเยอรมนี ได้มาช่วยออกแบบทำเพดานและโค้งคอนกรีตรองรับพื้นเพิ่มเติมอีก
          เมื่อท่านมีชีวิตอยู่นั้นโดยเหตุที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่และมีอัธยาศัยดี จึงปรากฏว่าได้เคยมีเจ้านายและบุคคลชั้นผู้ใหญ่ไปเยี่ยมเยียนท่านมิได้ขาด เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ เคยเสด็จทางเรือและประทับพักแรมที่วัดสวรรคาราม นอกจากนี้ก็มีสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และรัฐมนตรีในรัฐบาลต่างๆ อีกหลายท่าน
          ลักษณะและอุปนิสัยส่วนตัวของพระสวรรค์วรนายก คือ เสียงใหญ่และเสียงดังฟังชัด เมื่อท่านแสดงพระธรรมเทศนาบนธรรมมาสน์ในศาลาการเปรียญ พุทธศาสนิกชนจะได้ยินได้ฟังอย่างถนัดชัดเจน โดยไม่ต้องใช้เครื่องขยายเสียงแต่อย่างใด เพราะขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน ท่านเคร่งครัดในพระปาติโมกข์อย่างยิ่ง ท่องบ่นอยู่มิได้ขาดและมีความแม่นยำมาก เวลาลงปฏิบัติศาสนกิจในพระอุโบสถเมื่อท่านสวดปาติโมกข์ครั้งใด ต้องให้พระสองรูปคอยตรวจทานในหนังสือด้วยเพื่อป้องกันมิให้ผิดพลาด
          ท่านเป็นพระภิกษุที่ตรงต่อเวลามาก จะปฏิบัติตามกำหนดการโดยเคร่งครัดไม่ผิดเวลาเลยจนเป็นที่เลื่องลือกันในหมู่สงฆ์ของจังหวัดสุโขทัย ถ้ามีกิจกรรมสงฆ์ที่ใดมักจะถามกันว่างานนี้นิมนต์เจ้าคุณสวรรค์วรนายกไปหรือไม่ ถ้านิมนต์ท่านไปด้วยพระรูปอื่นๆ จะต้องไปก่อนเวลาเสมอบางครั้งมีพระรูปอื่นไปไม่ทัน ถ้าถึงเวลาตามกำหนดการท่านจะสั่งให้เจ้าภาพดำเนินการทันทีโดยไม่ต้องรอพระรูปที่ไปไม่ทัน จึงทำให้พระรูปอื่นๆ ต้องรักษาเวลาตามท่านไปด้วย
   
          นอกจากนี้ท่านยังชอบสะสมศิลปวัตถุโบราณสมัยต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากท่านเป็นอุปัชฌาย์และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป จึงได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นพระอุปัชฌาย์ในการอุปสมบทพระตามวัดต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอสวรรคโลกและเขตอำเภอใกล้เคียงเป็นประจำ เจ้าอาวาสและประชาชนต่างก็ทราบดีว่าท่านชอบสะสมโบราณวัตถุ จึงถวายศิลปวัตถุโบราณที่มีอยู่ให้ท่านเสมอ ซึ่งท่านก็ชอบใจและอนุโมทนาทุกครั้ง ศิลปวัตถุโบราณเหล่านั้นท่านจะบรรทุกล้อหรือเกวียนที่เทียมด้วยวัว หรือควายที่เจ้าภาพนำล้อ หรือเกวียนมารับท่าน เพราะสมัยนั้นรถยนต์หายาก รถยนต์ส่วนตัวก็ไม่มี รถประจำทางซึ่งมีใช้ก็มีอยู่น้อยคัน เมื่อท่านได้พระพุทธรูป หรือศิลปวัตถุโบราณมาแล้วจะนำมาเรียงไว้ในตึกกุฏิของท่าน ศิลปวัตถุบางอย่างเช่น เศียรพญานาค จะนำมาเรียงไว้รอบระเบียงตึกอย่างสวยงาม สำหรับพระเครื่องนั้นท่านมีมากมาย อาทิ พระร่วงรุ่นต่างๆ พระเครื่องโป่งมะขาม ฯลฯ
          เมื่อท่านอายุได้ 80 ปีเศษ ท่านได้ปรารภกับไวยาวัจกรและกรรมการวัดหลายท่านว่า หากท่านมรณภาพไปแล้วให้นำศิลปวัตถุโบราณที่ท่านสะสมไว้นี้มอบให้กับทางราชการ โดยให้สร้างพิพิธภัณฑ์ไว้ในวัดสวรรคาราม ห้ามมิให้นำสิ่งของออกไปไว้นอกวัดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
 
          นอกจากนี้ท่านยังมีความชำนาญในการแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก มีเครื่องมือสำหรับการแกะสลักครบชุด ไม้ที่ท่านชอบแกะสลักได้แก่ปุ่มไม้มะค่า วัตถุที่แกะสลักนั้นมีตั้งแต่กล่องสำหรับใส่บุหรี่และกรอบรูป โดยเฉพาะกล่องบุหรี่มีหลายขนาดทั้งขนาดใหญ่และเล็กมากมายหลายร้อยกล่อง ท่านทำได้อย่างงดงาม และได้เคยนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสวรรคโลก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม
พ.ศ.2501
          สำหรับเมืองสวรรคโลกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบจังหวัดสวรรคโลกให้ไปขึ้นกับจังหวัดสุโขทัย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2482 ดังนั้นฐานะของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยไปด้วย
          เมื่อท่านอายุได้ 80 ปีเศษ ท่านได้ปรารภกับไวยาวัจกรและกรรมการวัดหลายท่านว่า หากท่านมรณภาพไปแล้วให้นำศิลปวัตถุโบราณที่ท่านสะสมไว้นี้มอบให้กับทางราชการ โดยให้สร้างพิพิธภัณฑ์ไว้ในวัดสวรรคาราม ห้ามมิให้นำสิ่งของออกไปไว้นอกวัดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
          ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลกมาตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2450 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2482 จึงเปลี่ยนเป็นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมาโดยไม่บกพร่องแต่อย่างใด ต่อมาในปี พ.ศ.2508 เมื่อท่านมีอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 68 เป็นปีที่ท่านประสบมรสุมร้ายแรงที่สุดในชีวิต ทุกคนต่างตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านอย่างไม่คาดฝัน กล่าวคือ ในราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยกิตติมศักดิ์ โดยให้พ้นจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยที่มีอำนาจบังคับบัญชาพระภิกษุสามเณรทั่วไป ในคำสั่งอ้างว่าท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเพราะสุขภาพไม่ดี ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกตกใจและเสียใจมากท่านได้บอกให้ทุกคนที่ไปเยี่ยมท่านว่า ท่านไม่เคยลงนามในหนังสือลาออกเลย ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้ จึงให้คนที่เคารพนับถือท่านไปติดตามเรื่องนี้ที่กรมการศาสนา ปรากฏว่าท่านได้ลงนามในหนังสือลาออกไปจริงๆ เรื่องนี้คงจะมีบุคคลหนึ่งที่ไม่หวังดีต่อท่าน ทำหนังสือลาออกสอดไส้ไปในแฟ้มหนังสือราชการไปให้ท่านลงนามในวันใดวันหนึ่งที่ท่านรีบร้อนจะไปในงานกิจนิมนต์ โดยไม่ได้อ่านหนังสือให้รอบคอบจึงลงนามไป แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า พระภิกษุรูปหนึ่งที่ท่านไว้ใจมากเป็นคนทำหนังสือฉบับนี้
          ประชาชนชาวสวรรคโลกต่างเศร้าสลดและเสียใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์อันสะเทือนใจนี้ทำให้ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกเริ่มป่วยมาแต่บัดนั้น คณะศิษยานุศิษย์ได้นำแพทย์มารักษาเป็นอย่างดี อาการมีแต่ทรงกับทรุด มาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2508 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง เวลาบ่าย ท่านยังมีสติสัมปชัญญะดี ได้เรียกผ้าไตรใหม่มาครองซึ่งตามปกติท่านจะไม่ครองผ้าไตรใหม่เลย ในระหว่างที่กำลังผลัดเปลี่ยนผ้าสบงท่านก็มรณภาพเมื่อ เวลา 13.45 น. ด้วยอาการสงบ แพทย์ลงความเห็นว่ามรณภาพเพราะหัวใจล้มเหลว แต่ชาวบ้านว่ามรณภาพเพราะโรคชรา รวมอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 68
          คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสได้ประกอบพิธีงานศพให้ท่านอย่างสมเกียรติ ฝ่ายสงฆ์มีพระครูอุดมปฏิภาณ เจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก เป็นหัวหน้า ฝ่ายฆราวาสมีนายเพ่ง  ลิมปะพันธ์ ประธานสภาจังหวัดสุโขทัย เป็นหัวหน้า เมื่อทำบุญ 100 วัน เสร็จแล้วได้ให้ทำพิธีเก็บศพไว้ที่กุฏิตึกเพื่อขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป
          ต่อมาในราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2508 ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อบูรณะเมืองเก่าสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้ทราบเรื่องศิลปวัตถุโบราณที่เจ้าคุณสวรรค์วรนายกจะมอบให้กับทางราชการ จึงได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบูรณะเมืองเก่า เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2508 ได้ปรารภกับที่ประชุมว่า ท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายกที่มรณะภาพไปแล้ว ท่านมีเจตน์จำนงจะมอบศิลปวัตถุโบราณที่ท่านสะสมไว้ให้เป็นสมบัติของทางราชการ เพื่อจัดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑสถานที่จะสร้างในวัดต่อไป นับว่าท่านเป็นพระเถระที่มีใจกว้างขวาง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ที่ดีของท่านจึงสั่งให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณเป็นสองส่วน ส่วนแรกให้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ โดยให้กรมศิลปากรร่วมกับบรรดาศิษยานุศิษย์จัดสร้างเมรุ จัดซื้อเครื่องปัจจัยไทยทาน ตลอดจนจัดโขนและละครของกรมศิลปากรไปแสดง กับงบประมาณอีกส่วนหนึ่งให้เป็นค่าก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานสวรรควรนายก
          คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์ ฆราวาส และกรมศิลปากรได้ร่วมกันจัดงานพระราชทานเพลิงศพท่านเจ้าคุณสวรรค์วรนายก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2510 โดยจัดให้มีโขนและละครจากกรมศิลปากร มาแสดง เมื่อคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการวัดและบรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้ประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการมอบศิลปวัตถุโบราณของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก ให้กรมศิลปากร โดยขอให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจพื้นที่ ที่จะทำการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจแล้วเห็นว่าวัดมีพื้นที่ที่จะก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพียง 7 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา ไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างให้สวยงามได้ ขอให้กรรมการวัดจัดหาที่ดินเพิ่มเติมให้ด้วย คณะกรรมการวัด และกรมศิลปากรจึงได้บอกบุญรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ปรากฏว่าประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงมีเงินซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้อีก 14 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 21 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพิพิธภัณฑ์โดยตั้งงบประมาณหนึ่งล้านสองแสนบาท และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2511
          เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์เสร็จในปี พ.ศ.2512 คณะกรรมการวัดจะมอบให้กรมศิลปากร แต่พระครูสุนันท์คุณาภรณ์ (พระครูวินัยธร ยิ้ม) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสวรรคาราม ไม่ยินยอมมอบให้อ้างว่า เจ้าคุณสวรรค์วรนายกไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้กรมศิลปากร ดังนั้นศิลปวัตถุโบราณของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก จึงควรต้องตกเป็นของสงฆ์ คณะกรรมการวัดจึงแต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลจังหวัดสวรรคโลกบังคับให้เจ้าอาวาสวัดสวรรคารามมอบสิ่งของให้แก่กรมศิลปากร เจ้าอาวาสวัดสวรรคารามก็แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีกัน ผลที่สุดของคดีศาลตัดสินให้ศิลปวัตถุโบราณตกเป็นของสงฆ์ โดยคณะกรรมการวัดไม่มีสิทธิ์ที่จะมอบให้กรมศิลปากร
          พระครูสุนันท์คุณาภรณ์ (พระครูวินัยธร ยิ้ม) จึงรักษาศิลปวัตถุโบราณของเจ้าคุณสวรรค์วรนายก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จนถึงปีพ.ศ. 2524 เป็นเวลา 16 ปี ในห้วงเวลาดังกล่าวได้มีการโจรกรรมพระพุทธรูป พระเครื่อง และศิลปวัตถุโบราณที่มีค่าไปจากที่เก็บรักษาหลายครั้ง สิ่งของจึงขาดจากบัญชีที่ทำไว้ หลังจากเจ้าคุณสวรรค์วรนายกมรณภาพเป็นจำนวนไม่น้อย
          ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2524 พระครูสุนันท์คุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดสวรรคาราม มรณภาพ พระสุนทรธรรมาภรณ์ (อาจารย์บำเหน็จ วัดคลองกระจง) ขณะนั้นท่านพระครูสุธรรมนิเทศ รองเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวรรคาราม ได้ดำเนินการตรวจสอบศิลปวัตถุโบราณอีกครั้งหนึ่ง และได้ทำพิธีมอบให้กับกรมศิลปากร โดยมี ฯพณฯ ขุนทอง ภูผิวเดือน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับมอบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 
          กรมศิลปากร ได้รับมอบศิลปวัตถุโบราณแล้ว ได้เร่งดำเนินการจัดแสดงให้แล้วเสร็จ เพื่อเตรียมการเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ให้ทันในปีเฉลิมฉลอง 700 ปี ลายสือไทย ในการเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งนี้ กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถาน ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2527 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านเจ้าคุณพระสวรรค์วรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นเจ้าของศิลปโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์นี้ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก"

บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด


อาทิตย์นี้ขอหยุดพูดถึงเรื่องราวต่างๆในมาบตาพุดสักวัน เพราะผมยังไม่ค่อยเห็นอะไรชัดเจนเป็นเรื่องเป็นราว มาคุยเรื่องสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานกันดีกว่า
  เรื่องแรกเป็นเรื่องการจัดทำมาตรฐานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ปี 2552 - 2553 สมาคมฯ มีสัญญากับทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่า เราจะจัดทำมาตรฐานส่งให้ สมอ เพื่อประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศไทยรวมด้วยกัน 5 เรื่อง โดยทุกเรื่องจะต้องเสร็จอย่างสมบูรณ์พร้อมที่จะให้ทาง สมอ นำไปพิจารณาประกาศใช้เป็นมอก ได้ไม่เกินวันที่ 23 มีนาคม 2553 ทางสมาคมฯก็ได้มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบคือ
1. มาตรฐานเรื่อง การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ดอกเตอร์วันทนี พันธุ์ประสิทธิ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
2. มาตรฐานเรื่อง การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในโรงงานอุตสาหกรรม คุณฤทธิชาติ อินโสม เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
3. มาตรฐานเรื่อง การประเมินการสัมผัสสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ดอกเตอร์วันทนี พันธุ์ประสิทธิ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
4. มาตรฐานเรื่อง ระบบการบริหารความต่อเนื่องในทางธุรกิจ นายประกอบ เพชรรัตน์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
5. มาตรฐานเรื่อง การควบคุมภาวะฉุกเฉิน นายประกอบ เพชรรัตน์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
  ผมไม่ค่อยเป็นห่วงของน้องๆทั้งหลายเพราะทั้งดอกเตอร์วันทนี ทั้งคุณฤทธิชาติ เขาเป็นคนขยัน เอาจริงเอาจัง เหลือแต่ของผมนี่แหละที่ไม่ค่อยเป็นโล้เป็นพายเท่าไร ทุกคืนวันศุกร์ผมก็มักจะเอาเวลาก่อนนอนมานั่งทบทวนว่า อาทิตย์นี้ทำอะไรไปบ้าง บางอาทิตย์รู้สึกเหนื่อยแทบขาดใจ แต่พอมาทบทวนว่าทำอะไรไปบ้าง กลับไม่ได้มีอะไรเป็นเรื่องเป็นราวเลย
  มาตรฐานที่ผมรับผิดชอบมา 2 เรื่อง ตอนนี้จบไปแล้ว 1 เรื่องคือ มาตรฐานเรื่อง ระบบการบริหารความต่อเนื่องในทางธุรกิจ ที่เสนอเข้าคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 1042 ไปเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ทางคณะกรรมการก็เอาไปศึกษา 1 เดือน แล้วกลับมาประชุมกันใหม่ในเดือนกันยายน หากมีอะไรให้แก้ไข ก็อาจจะใช้เวลาไปอีก 1-2 เดือน แต่ถ้าเห็นชอบ ก็ผ่านไปสู่ขั้นตอนต่อไป ซึ่งผมยังไม่แน่ใจว่า ต้องส่งไปให้หน่วยราชการทั้งหลาย หรือ public ให้ข้อคิดเห็นก่อนหรือปล่าว แต่สำหรับผมจบแล้วครับ การแก้ไขปรับปรุงหลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของ กว 1042
  ส่วน มาตรฐานเรื่อง การควบคุมภาวะฉุกเฉิน ผมก็คงจะเอา ISO/CD 22320 เป็นหลักในการจัดทำ และเอาโครงสร้างทางสังคมของไทยมาปรับตัวมาตรฐานเพื่อให้สามารถนำไปปฎิบัติได้ เพื่อนพ้องน้องพี่คนไหนสนใจจะมาช่วยกันทำมาตรฐานฉบับนี้ก็กริ๊งกร๊างหรือ mail มาก็ได้ครับ
  มาตรฐานอีกฉบับที่ไม่ได้อยู่ในสัญญาแต่สมาคมฯต้องการปรับแก้ มาหลายปีได้แก่ มอก 18001 ก็ได้มีการสรุปกันเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม รอให้คุณสิงหนาท เมตตาคุณ แกปรับแก้ให้เป็นไปตามมติของการประชุมแล้วส่งมาให้ผมเมื่อไร ผมจะเอามา post ใน web ให้ไปศึกษากัน และมาตรฐานฉบับนี้ก็จะเสนอสู่การประชุมของ กรรมการวิชาการคณะที่ 893 ในวันที่ 14 กันยายน นี้ ผลการแก้ไขเป็นอย่างไร ผมจะมาเรียนให้ทราบต่อไป
  มีเรื่องแจ้งให้ทราบอีกเรื่องหนึ่งคือ ทางโรงพยาบาลระยอง ได้มีการจัดตั้งคลีนิคโรคจากการทำงานขึ้นมา เพื่อให้บริการในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจากการทำงานให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ในจังหวัดระยอง ในคลีนิคนี้มีแพทย์ทางอาชีวเวชศาสตร์อยู่ 2 ท่านคือ คุณหมอสุนทร เหรียญภูมิการกิจ หัวหน้าคลีนิค กับ คุณหมอชาติวุฒิ จำจด ใครสนใจบริการนี้ก็แวะไปหาได้ที่โรงพยาบาลระยอง หรือจะลองไปหารายละเอียดก่อนในงานสัปดาห์ความปลอดภัยของจังหวัดระยองก็ได้ เขาไปออกร้านให้คำปรึกษาแนะนำอยู่ สวัสดีครับ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า

สรุปเข้ม ภาษาอังกฤษ O-NET + GAT

ติวเข้ม GAT วิชาภาษาอังกฤษ

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ปรัชญาการเมืองของอาริสโตเติล