วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันสารทจีน



วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้


ตำนาน

ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เงี่ยมล้อเทียนจือ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง

ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” (พระมหาโมคคัลลานะ) เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน

จำนวนชุดที่ไหว้

1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่

จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง

 2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ

คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง

3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ

วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

ขนมที่ใช้ไหว้

  • ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
  • เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
  • หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
  • มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
  • กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ

แง่คิด

ประเพณีสารทจีนนอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข

อ้างอิง

  1. ^ วันสารทจีน
  2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99



วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฮิโรชิมา


ในปีค.ศ.1920 ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จนรัฐบาลเริ่มอ่อนแอ แนวคิดเรื่องการปกครองแบบเผด็จการ ของยุโรป เริ่ม ระบาดในหมู่ขุนทหารญี่ปุ่น และยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่อยู่ในสภาวะอับจนทางเศรษฐกิจด้วย กองทัพเริ่มแยกตัวเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐบาล

จนในปี ค.ศ.1931 กอง ทัพญี่ปุ่นก็เข้ายึดแมนจูเรียของจีน โดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ทราบเรื่อง จึงเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่ากองทัพไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาล จากนั้นอีก 4 ปี กองทัพญี่ปุ่นได้ก่อการรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ แต่เหล่าขุนพลเหล่านั้นกลับยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้น

จนในปี ค.ศ. 1941 นาย พลฮิเดกิ โตโจ นายทหารคนสำคัญก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และนับตั้งแต่นั้นมาประเทศญี่ปุ่น ก็มีรูปแบบการบริหาร แบบฟาสซิสต์เหมือนในยุโรป 
   ช่วง เริ่มสงครามใหม่ๆ ญี่ปุ่นก็ท่าทางจะไปได้สวย บุกไปถล่มอ่าวไข่มุก (Pearl Harbour) ที่เกาะฮาวายของอเมริกา โดยที่อเมริกาทำอะไรไม่ได้เลย ในแถบเอเชียไม่ว่าจะไปบุกที่จีน เกาหลี ไม่ว่าที่ไหน ๆ ไม่มีใครต้านญี่ปุ่นได้ กองกำลังของญี่ปุ่นเข้มแข็งมาก

แต่...พอถึงช่วง ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาะหรือจะมาต้านประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาได้ ญี่ปุ่นเริ่มอ่อนแอ เรือบรรทุกนํ้ามันที่นำนํ้ามันมาจากประเทศอินโดนีเซียก็โดนโจมตี เชื้อเพลิงไม่มีเรือที่ขนเสบียงก็โดนตี ...จมทะเลก่อนจะไปถึงจุดหมาย คนญี่ปุ่นที่ไปรบในแถบอาเซียนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากการขาดเสบียงอาหารและยารักษาโรค


ในประเทศญี่ปุ่น เครื่องบินอเมริกาบินมาถล่มญี่ปุ่นทุกคืน เมืองใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโตเกียว โอซาก้า นาโกย่า โดนถล่มแทบจะเป็นเมืองร้าง ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แสนยานุภาพของเครื่องบินรบญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามก็แทบจะทำอะไรเรือรบอเมริกา ไม่ได้เลย เมื่อสุนัขจนตรอก มันทำได้อย่างเดียวคือ วิ่งชนเพื่อเอาตัวรอด


หน่วยรบพิเศษ คามิกาเซะ ก็เกิดขึ้นมา แต่ก่อนที่จะชนเรือรบอเมริกาได้ ก็โดนยิงร่วงตกก่อนซะเป็นส่วนมาก เมืองโตเกียว และ เมืองทหารของญี่ปุ่นเกือบทุกแห่ง ตอนปลายสงคราม...อย่างที่บอกไปแทบจะเป็นเมืองร้าง
                                          สภาพกรุงโตเกียวหลังการทิ้งระเบิด



แต่...ยังมีอยู่อีก เมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมทางการทหาร มีโรงงานมากมาย เด็กๆ ญี่ปุ่นตัวน้อยๆ จำนวนมากถูกเกณฑ์มาสร้างอาวุธนี่นั่น ... สงครามก็ทำมานานแล้ว แต่เมืองนี้แทบจะไม่ได้รับอิทธิพลจากสงครามเลย...ใช่แล้ว...เมืองใหญ่เมือง นี้คือ ฮิโรชิมา ตั้งแต่อ่าวไข่มุกของอเมริกาโดนญี่ปุ่นถล่มยับเยิน ก็มีโครงการเกิดขึ้นโครงการหนึ่ง...เป็นโครงการที่เร่งเครื่องไปข้างหน้า อย่างลับๆ โครงการนั้นคือ โครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ประสบผลสำเร็จในกลางปี คศ. 1945 ก่อนที่อเมริกาจะนำไปทิ้งที่ ฮิโรชิมา เพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น ทำไมอเมริกาต้องรีบเอาไปทิ้ง


                            

                เหตุผลที่ต้องรีบก็มีหลายอย่าง ต้องการยุติสงครามให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดการสูญเสียของอเมริกา ต้องการชนะญี่ปุ่นก่อนที่โซเวียต(รัสเซียปัจจุบัน) จะเข้าร่วมสงครามอย่างจริงจัง... เดี๋ยวต้องการทดสอบแสนยานุภาพของระเบิดชนิดใหม่
แล้วทำไมเลือกฮิโรชิมา ความจริงเมืองที่อเมริกาเลือกไว้เป็นเป้าหมายของระเบิดมีเกือบ 20 แห่ง แล้วก็ค่อยๆ ตัดออกไปจนเหลือ 2-3 เมือง หนึ่งในนั้นคือ ฮิโรชิมา เหตุผลที่อเมริกาเลือก ฮิโรชิมา ก็คือ ฮิโรชิมาเป็นเมืองทหาร มีกองทัพทหาร โรงงานผลิตอาวุธมากมาย แต่ยังไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ฮิโรชิมาตั้งอยู่ในที่ราบ เหมาะสมที่จะทดสอบแสนยานุภาพของระเบิด แล้ว...

    
                                     แบบจำลองเมืองฮิโรชิมา ก่อนโดนระเบิด    
                                          
    
                                                  หลังโดนระเบิด 
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นยอมจำนน แต่ญี่ปุ่นไม่สนใจ และแล้ว...วันที่ 6 เดือนสิงหาคม คศ. 1945 เวลา 8:15 นาฬิกา ระเบิดนิวเคลียร์(ทดลอง)ที่มีชื่อว่า Little Boy ก็ได้นำไปทิ้งที่ เมืองฮิโรชิมา
เมือง ฮิโรชิมา เป็นเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและแม้ว่าชาวญี่ปุ่นจะรู้ล่วงหน้าว่า สหรัฐฯ จะทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ แต่ก็หามีใครตะหนักถึงอนุภาพของมัน เมื่อเอนอลาเกย์ ถึงที่หมาย นักบินจึงปล่อยระเบิดนิวเคลียร์ และรีบออกจากที่หมายโดยเร็วที่สุด ระเบิดนิวเคลียร์เกิดปฎิกิริยาลูกโซ่ และระเบิดกลางอากาศขณะที่ลอยอยู่เหนือเมืองฮิโรฮิมา ที่ความสูง 600 เมตร


เกิดเป็นควันขาวอมเขียวพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นรูปดอกเห็ดสูงถึง 10 กิโลเมตร อันเป็นลักษณะเฉพาะของระเบิดนิวเคลียร์ และแสงสว่างอันเจิดจ้า พลังงานอันมหาศาลที่ถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของแรงอัดอากาศ จากการระเบิด ความร้อนและกัมมันตภาพรังสี โดยที่ศูนย์กลางของการระเบิดนั้นมีอุณหภูมิมิสูงถึง 3800 องศาเซลเซียส


ผลของระเบิดนิวเคลียร์ทำให้เมืองฮิโรชิมา มีผู้เสียชีวิตทันทีจากการระเบิด ประมาณ 70,000 คน มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตภายหลังในปีเดียวกันอีกราว 70,000 คน และผู้ที่เสียชีวิตภายหลังนี้ต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก่อน เสียชีวิต จากแผลไฟลวก และผลจากกัมมันตภาพรังสี และประมาณอีก 60,000 คนเสียชีวิตในอีก 6 ปี ถัดมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากกัมมันตภาพรังสี รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน


                      
 ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองฮิโรชิมา เปรียบเทียบก่อน (ภาพซ้าย) และหลังเมืองถูกระเบิดทำลาย (ภาพขวา)
กากบาทกลางวงกลมคือจดกึ่งกลางการระเบิด มิสไซล์ปรมาณูจุดระเบิดเหนือตำแหน่งกากบาท 500 เมตร



                       

ประธานาธิบดี ทรูแมน แห่ง สหรัฐอเมริกา ก็ได้ยืนคำขาดอีกครั้งเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมจำนนแต่โดยดี แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเพิกเฉย ในที่สุด ทรูแมน จึงได้สั่งให้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่นเป็นลูกที่ 2 และระเบิดลูกนี้ มีชื่อว่า "แฟทแมน"
        เพราะว่าขนาดอ้วนและใหญ่ โตกว่าลูกแรกเป้าหมายของระเบิดลูกที่ 2 นี้ ก็คือ เมืองนางาซากิ และแล้วในวันที่ 9 สิงหาคม ปี ค.ศ.1945 คืออีก 3 วันถัดมาโศกนาฎกรรมของมนุษยชาติ อีกฉากหนึ่งก็ได้อุบัติขึ้น เมืองนางาซากิ พินาศย่อยยับในพริบตาด้วยอำนาจของเจ้าคนอ้วน หรือ แฟทแมนในที่สุดรัฐบาลญี่ปุ่นก็ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขทั้งนี้เพื่อ รักษาชีวิตของประชาชนไว้ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะมีระเบิดลูกที่ 3 ทำให้เมืองนางาซากินั้น มีชะตากรรมไม่แพ้กัน ผู้เสียชีวิตในทันที 70,000 คน บาดเจ็บอีกราว 80,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ผลของกัมมันตภาพรังสี ยังทำให้ผู้ที่ได้รับรังสีกลายเป็นมะเร็งในภายหลังได้อีกด้วย ในส่วนนี้ไม่สามารถประเมินได้แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าใด ยังไม่รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม อันเป็นผลจากกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างอีกด้วย


http://www.unigang.com/Article/4310 บทความคัดลอก

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไขประวัติ - อับราฮัม ลินคอล์น


อับราฮัม ลินคอล์น (อังกฤษAbraham Lincoln อ่านแบบที่ไม่ใช่ทิงลิชว่า เอบราฮัม ลิงเคิน [a.bra.ham - linc.oln]) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 จนกระทั่งถูกยิงเสียชีวิต ลินคอล์น ประกาศว่าเขาต่อต้านระบบทาสในสหรัฐอเมริกา[1][2] ลินคอล์นชนะตัวแทนจากพรรครีพับลิกันในปี ค.ศ. 1860 และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปีถัดมา ระหว่างการดำรงตำแหน่ง ลินคอล์นได้ช่วยรักษาประเทศ โดยการเป็นผู้นำในการถอนตัวออกจากผู้สบคบร่วมคิดในสงครามประชาชนอเมริกัน ของรัฐบาลกลางสหรัฐในสงครามอเมริกัน เขายังได้แนะนำมาตรการในการเลิกทาส ซึงนโยบายอันนี้ได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1863 และได้รับการผลักดันให้บรรจุเข้าไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 ในปี ค.ศ. 1865
อับราฮัม ลินคอล์น ได้ติดตามในความพยายามในการทำสงครามเพื่อชัยชนะอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง รวมไปถึง ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ นักประวัติศาสตร์สรุปเอาไว้ว่า ลินคอล์นได้เข้าไปช่วยเหลือแต่ละกลุ่มในพรรครีพับลิกันเป็นอย่างดี การนำมาของผู้นำแต่ละกลุ่มเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรีของเขา และบังคับให้พวกเขาเหล่านั้นร่วมมือกัน ลินคอล์นประสบความสำเร็จ ในการลดความรุนแรงของสงครามที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว (Trent Affair) กับสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1864
ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับสงคราม (Copperheads) ได้วิจารณ์ลินคอล์นเกี่ยวกับการปฏิเสธการทำข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายการเลิกทาส ความขัดแย้งโดยเฉพาะพวกรีพับลิกันที่เป็นพวกหัวรุนแรง หัวหน้ากลุ่มที่มีความคิดในการเลิกทาสในพรรครีพับลิกัน ได้วิจารณ์ว่าลินคอล์นออกมาเคลื่อนไหวช้าเกินไป การเอาสิ่งกีดขวางมากั้นถนนไว้ ลินคอล์นประสบความสำเร็จ ในการปลุกระดมมวลชนโดยการพูดโน้มน้าวใจประชาชนในที่สาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น Gettysburg Address แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ลินคอล์นมองหาจังหวะในการเร่งให้มีการจัดการชุมนุมอีกครั้ง
อับราฮัม ลินคอล์นถูกยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1865 เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกลอบสังหารในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา และทำให้เขากลายเป็นผู้เสียสละเพื่อความสามัคคีของคนในชาติในความคิดของประชาชนคนรุ่นหลัง
อับราฮัม ลินคอล์น เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา 1 เซนต์ ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และเรือบรรทุกเครื่องบิน


ชิวิตตอนต้น

เพิงไม้หลังนี้เป็นสถานที่เกิดของลินคอล์น
อับราฮัม ลินคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เป็นบุตรของ โทมัส ลินคอล์นและแนนซี่ แฮงค์ ทั้งสองไม่ได้เรียนหนังสือและประกอบอาชีพชาวนาในตะวันตกของเมือง ฮาร์ดิน รัฐแมสซาชูเซตส์ บรรพบุรุษของลินคอล์นมาตั้งรกรากที่เมืองนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ส่วนทายาทของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจาก รัฐเพนซิลเวเนีย ไปยัง รัฐเวอร์จิเนีย ต่อจากนั้นก็ไปยังเมืองชนบทที่ไม่ได้รับการพัฒนา[3]
บางครั้งโธมัส ลินคอล์น พ่อของอิบราฮัม ลินคอล์น ถูกคาดหวังและนำไปเปรียบเทียบกับพลเมืองที่มั่งคั่ง ในเขตพื้นที่เพาะปลูกใน รัฐเคนทักกี เขาทำให้น้ำท่วมฟาร์มในช่วงฤดูใบไม้ผลื เดือนธันวาคมค.ศ. 1808 เพื่อนำเงินสด 200$ นำไปใช้หนี้[4] ครอบครัวของลินคอล์นชอบไปทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ ฮาร์ดเชลล์ แบบติสท์ แต่ตัวของ อับราฮิม ลินคอล์น ไม่เคยไปร่วมกับทางครอบครัวเลย
ในปี ค.ศ. 1816 ครอบครัวของลินคอล์นถูกบังคับให้มาเริ่มต้นทำนาใหม่ที่เพอร์รี่ รัฐอินดีแอนา[5]จากนั้นเขาได้บันทึกไว้ว่า การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้เปรียบเสมือนการตกเป็นทาส
เมื่อลินคอล์นอายุ 9 ขวบ แม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโคป่วยนม เมื่ออายุ 34 ปี หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่กับ ซาห์ร่า บุช จอห์นสันและอับราฮัม ลินคอล์นเองก็ได้รับความอบอุ่นจากแม่เลี้ยงคนใหม่นี้มาก ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อของเขายังคงห่างเหิน[6]
ค.ศ. 1830 หลังจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาที่ดินในรัฐอินเดียนา บานปลายออกไปมากขึ้น ครอบครัวลินคอล์นจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ[7] เมคอน รัฐอิลลินอยส์ หลังจากที่พายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำจนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจกลับไปอินเดียนา ปีถัดมา พ่อของลินคอล์นย้ายครอบครัวไปยังบ้านและที่ดินใหม่ที่เมืองโคลส์ มลรัฐอิลลินอยส์
ลินคอล์นใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนเพียง 18 เดือนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเขาชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ลินคอล์นยังมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ขวานอีกด้วย[8] ลินคอล์นหลีกเลี่ยงการล่าสัตว์ การตกปลา เพราะเขาไม่ชอบฆ่าสัตว์[9]
ภาพแรกของมาดามลินคอล์น ถ่ายโดย ชีเฟิร์ด ในปี 1846

[แก้]ชีวิตครอบครัว

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842 อับราฮัม ลินคอล์น แต่งงานกับ แมร์รี่ ทอดด์ ลินคอล์น ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของทาสที่มีชื่อเสียงจากเคนทักกี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกับ 4 คน โรเบิร์ต ทอดด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1843 ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวที่อยู่รอดมาจนถึงวัยบรรลุนิติภาวะ ส่วนบุตรคนอื่นๆเสียชีวิตเมื่อวัยเด็ก เอ็ดวาร์ด แบ็งเกอร์ ลินคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 วิลเลียม วอลเลส ลินคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่สปริงฟิลด์ ค.ศ. 1850 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. โทมัส แทด ลินคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1853 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1871ในชิคาโก

[แก้]การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1860

"เดอะเรลแคนดีเดต" เป็นนโยบายที่ประกาศว่าจะยกเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนโยบายหลักของลินคอล์น ที่ถูกยกให้เป็นประเด็นสำคัญในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
การเข้าไปเป็นตัวแทนในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถือนั้น ถือเป็นเบี้ยล่างอย่างเห็นได้ชัด ในที่สุด ลินคอล์นถูกคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่ง เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ โดยการแสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบทาสในสหรัฐ ที่ถูกมองว่าสิ่งนี้เป็นนโยบายที่ดูจะเหมาะสมกว่าคู่แข่งอย่าง วิลเลียม เอช. ซีวาร์ด และ แซลมอน พี. เชส คู่ต่อสู้คนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประสบการณ์การปกครองที่มากกว่า ได้คู่แข่งภายในพรรคและเป็นจุดอ่อนในวิกฤตในรัฐทางตะวันตก ขณะที่ลินคอล์นมองเห็นเป็นสิ่งที่เหมาะสมผู้ซึ่งสามารถเอาชนะในตะวันตกได้ สมาชิกพรรครีพับลิกันส่วนใหญ่เห็นด้วยกับลินคอล์น ที่บริเวณตอนเหนือทำให้พรรคต้องผิดหวัง ขณะที่ผู้คนที่ตกเป็นทาสจำนวนมากถูกผูกมัดเอาไว้แน่น ลินคอล์นยังเข้าใจผิดในความลึกซึ้งของการปฏิวัติในทางใต้ และยังปรากฏให้เห็นลัทธิชาตินิยมอีกด้วย ตลอดทั้งศตวรรษ 1850 เขายังได้ปฏิเสธที่จะเกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และผู้สนับสนุนขอลินคอล์นได้ปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการเรียกร้องว่าการเลือกตั้งของเขาจะกระตุ้นให้ถอนตัวออก[10]
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1860
ตลอดการเลือกตั้งที่ผ่านมา ลินคอล์นก็ไม่ได้รณรงค์หาเสียงหรือกล่าวสุนทรพจน์แต่อย่างใด สิ่งนี้เองได้ถูกพรรครีพับลิกันหยิบยกขึ้นมา ผู้ซึ่งใช้เทคนิคล่าสุดเพื่อสนับสนุนให้เกิดแรงบันดาลใจภายในพรรค และไม่มีการโฆษณาหาเสียงอย่างแท้จริง ในทางใต้ยกเว้นเมืองชายแดนไม่มากนัก เช่น เซนท์หลุยส์, มิสซูรี, และ วิลลิ่ง, เวอร์จิเนีย แต่แท้ที่จริงแล้วทางพรรคเองก็ไม่ได้แข่งขันทางใต้แต่อย่างเดียว ในทางเหนือมีโฆษกพรรครีพับลิกันอยู่หลายคน โปสเตอร์หาเสียงและใบปลิวจำนวนหลายตัน และบทแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์จำนวนหลายฉบับ โดยที่สิ่งเหล่านี้ได้ชูประเด็นสำคัญของพรรคสองเรื่องคือ หนึ่ง นโยบายของพรรค สอง ชีวประวัติของลินคอล์นที่เกิดเป็นเด็กชาวนายากจน มีความอัจริยะภาพโดยกำเนิดและการลุกขึ้นมาสู้ของเขาเพื่อให้ยกเลิกระบบทาสอย่างกล้าหาญและเต็มที่[11]
อับราฮัม ลินคอล์น ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1860 เอาชนะคู่ต่อสู้จากทางพรรคเดโมแครต สตีเฟ่น เอ. ดักลาส, จอห์น ซี. เบร็กกินลิดจ์ และจอห์น เบลล์ จากพรรคคอนสติทูชันยูเนียน (Constitutional Union Party) ลินคอล์นเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรครีพับลิกัน

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ "[I]n his short autobiography written for the 1860 presidential campaign, Lincoln would describe his protest in the Illinois legislature as one that 'briefly defined his position on the slavery question, and so far as it goes, it was then the same that it is now." This was in reference to the anti-expansion sentiments he had then expressed. Doris Kearns Goodwin, Team of Rivals: The Political Genius of Abraham Lincoln (2005) p. 91.
  2. ^ Holzer pg. 232. Writing of the Cooper Union speech, Holzer notes, "Cooper Union proved a unique confluence of political culture, rhetorical opportunity, technological innovation, and human genius, and it brought Abraham Lincoln to the center stage of American politics at precisely the right time and place, and with precisely the right message: that slavery was wrong, and ought to be confined to the areas where it already existed, and placed on the 'course of ultimate extinction... .'"
  3. ^ History of the Town of Hingham, Massachusetts, Vol. II, Thomas Tracy Bouve, Published by the Town, 1893
  4. ^ The farm site is now preserved as part of Abraham Lincoln Birthplace National Historic Site.
  5. ^ It is now in Spencer County, Indiana.
  6. ^ Donald, (1995) pp. 28, 152.
  7. ^ Lincoln Trail Homestead State Park
  8. ^ Abraham Lincoln, The Physical Man
  9. ^ "Years later Abe wrote, 'At this place A.[braham] took an early start as a hunter, which was never much improved afterwards. A few days before the completion of his eighth year, in the absence of his father, a flock of wild turkeys approached the new log-cabin, and A.[braham] with a rifle gun, standing inside, shot through a crack and killed one of them.' Then came another sentence, 'He has never since pulled a trigger on any larger game,' making it clear that when they had deer or bear meat or other food from "larger game," it was not from his shooting. He didn't like shooting to kill and didn't care for a reputation as a hunter." Carl Sandburg. Abraham Lincoln: The Prairie Years and the War Years. Harcourt Brace and Co., 1954. p.10.
  10. ^ Gabor S. Boritt, "'And the War Came'? Abraham Lincoln and the Question of Individual Responsibility," Why the Civil War Came ed by Boritt (1996) , pp 3-30.
  11. ^ Thomas (1952) p 216; Reinhard H. Luthin, The First Lincoln Campaign (1944) ; Nevins vol 4;

สรุปเข้ม ภาษาอังกฤษ O-NET + GAT

ติวเข้ม GAT วิชาภาษาอังกฤษ

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ปรัชญาการเมืองของอาริสโตเติล