http://www.school.net.th/library/create-web/10000/history/10000-5933.html
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร
และฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อนสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป
โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป
การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย
การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้
ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)
สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม
ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่
ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918
ประวัติ
ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน
เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The
Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี
และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส
ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน
จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple
Alliance ขึ้นครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง
จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย
และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก
ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ
และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว
จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์
(Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย
โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ
และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี
จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้
ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้
เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม
เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับหลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว
ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส
อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม
ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี
อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย
บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ
ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม
รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้
เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย
และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย
หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต
สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917
โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คนในช่วงแรกของสงคราม
มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ
5
ล้านคน
ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด
ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้
ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ
และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ
จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922 เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (The
Treaty of Veraailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี
เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม
ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม
เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ
และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา
แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น
ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน
เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis)
มีการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ
เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก
แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง
นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่สอง
เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก
เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488
(ค.ศ.
1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้
ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม
การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม
เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน
(วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย
บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน
แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก
ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง
มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่
8
พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่
15
สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน
ประเทศในฝ่ายพันธมิตรแสดงในสีเขียว และฝ่ายอักษะแสดงในสีส้ม
สมรภูมิทางตะวันออก
สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก
โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ
สมรภูมิในจีน
ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2อย่างเป็นทางการ
โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่
รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข
และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง(นานกิง)ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น)
และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ
หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ"สงครามกองโจร"
ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน
ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย
แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์
ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึกโกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ
และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์
สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น
และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง
แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกันกลับวิจารณ์
เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ
ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้
การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น
ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง
ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว
และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรือมิสซูรีที่อ่าวเพิร์ล
เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชียสมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งถ้าไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส
ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีแล้ว
สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์
และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า
นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์
การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว
ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก
ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่
ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ
และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด
สมรภูมิทางตะวันตก
สมรภูมิทางตะวันตก
ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ
สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ประเทศต่ำ(เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)และในสแกนดิเนเวีย
ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตีหลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์แล้ว
และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี
ประเทศฝรั่งเศส
และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก
ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต
ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว
ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก
ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก
แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร
เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราดหรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
จนถึงลุ่มแม่น้ำวอลก้า(สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย
และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต
จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุดสมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์
ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน
แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น
ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน
รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก
แต่ในที่สุด
เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มาก
เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก
และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีวินสตัน
เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น
และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้
สมรภูมิรบ
สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก
โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน
ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่มคือ การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป
เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342
เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น.
การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป.
สาเหตุของการปฏิวัติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes
profondes ได้แก่
สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2. สภาพทางสังคม
สมัยนั้นสังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse
d'?p?e) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de
robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์
มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de
province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้
มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก
พระคาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่พระสงฆ์ทั่วไป
มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers ?tat) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น
ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ
และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3
ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก
การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น
การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย)
ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ,
ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน)
การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย
ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด
เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น
อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม
นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น
ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ
ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ
ๆ
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause imm?diates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ
ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด ในปี
พ.ศ. 2319
ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก
เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ
และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว
ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์
ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์
แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ
ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์
เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319
เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี
เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ
และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง
เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ
เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม
เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน
แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324 ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม)
ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329
ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน.
ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน.
สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส
จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง
ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์
เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์
โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท
และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย
เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assembl?e des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้
แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330ความขัดแย้งระหว่างสภา
(ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย
พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง
พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไป
รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น
เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง
โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์
ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี
พ.ศ. 2157
ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ
มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย
เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331
ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า
เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป
และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่
5
พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม
เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา
และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ
ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม
และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน.
สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย
ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช
และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ
สภา Assemble
National นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี
เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์
ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์
พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง
แต่สมาชิก ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส
(สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน
โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
โรงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial
Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19
โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก)
ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น
และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ
ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ
และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุดเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์
วัตต์จุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป
สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับนวัตกรรมทางเครื่องกล
คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ฯลฯ
ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล
ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล
รวมทั้งระบบโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ
ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด
ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง
พ.ศ. 2293-2393
โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชียร์
โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง
ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม
นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น
ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า
แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2373 เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด
ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม
และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน
เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้
กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง
รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกันผู้ใช้วลี
“การปฏิวัติอุตสาหกรรม”
เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์
Guillaume เมื่อปี
พ.ศ. 2342
แต่ผู้ที่นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ Auguste
Blanqui เมื่อปี
พ.ศ. 2380
รวมทั้ง ฟรีดริช เองเงิลส์ ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้นกรรมกรในประเทศอังกฤษ”
(พ.ศ.
2388) จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลายเป็นการถาวร
รายงาน
โรงเรียนโดมประดิษฐ์วิทยา
สงครามครูเสด (The Crusades)
คือ สงครามระหว่างศาสนา
ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง
หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้
แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์
ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13
สงครามครูเสด
เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม
เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ
เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน
ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่
ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์
ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
ชาวมุสลิมครอบครอง
เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44)
ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามในยุคนั้น
บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้
และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง
แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9
ครั้งในมหาสงครามครั้งนี้และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้งในระหว่างนั้น
สงครามบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในยุโรปเอง เช่น ที่สเปน
และมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นตลอดศตวรรษที่ 16 จนถึงยุค Renaissance และเกิด Reformation
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (1095-1101)
เริ่มต้นเมื่อปี1095 โดยพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban
II) แห่งกรุงโรม
รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ไปยังกรุงเยรูซาเลม ช่วงแรกกองทัพของปีเตอร์มหาฤาษี(Peter
the Hermit) นำล่วงหน้ากองทัพใหญ่ไปก่อน
ส่วนกองทัพหลักมีประมาณ 50,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส นำโดย
โรเบิร์ตแห่งนอร์มังดีโอรสของวิลเลี่ยมผู้พิชิต
ในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพก็เดินทางจากแอนติออคมาถึงกำแพงเมือง
และยึดฐานที่มั่นใกล้กำแพงเข้าปิดล้อมเยรูซาเล็มไว้
กองกำลังมุสลิมที่ได้รับการขนานนามว่า ซาระเซ็น ได้ต่อสู้ด้วยความเข้มแข็ง
ทว่าท้ายที่สุดนักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไป
และฆ่าล้างทุกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์กระทั่งชาวมุสลิมในเมืองหรือชาวยิวในสถานทางศาสนาก็ล้วนถูกฆ่าจนหมด
เหลือเพียงผู้ปกครองเดิมในขณะนั้นซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปได้
แต่ทว่าข่าวการรบนั้นไม่อาจไปถึงพระสันตะปาปา
เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันถัดมา
ผู้นำเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับเลือกคือ ก็อดฟรีย์ แห่ง บูวียอง
ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานหนึ่งปีจึงเสียชีวิต เดือนกรกฎาคมปี 1100
บอลด์วินจากเอเดสซาจึงขึ้นสืบเป็นกษัตริย์ พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงอาร์เมเนีย
แต่ไร้รัชทายาท พระองค์สวรรคตในปี 1118
ผู้เป็นราชนัดดานามบอลด์วินจึงครองราชย์เป็นกษัตริย์บอลด์วินที่ 2 แห่งอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ มีราชธิดา 3 พระองค์
และที่น่าสนใจคือครั้งนี้บัลลังก์สืบทอดทางธิดาองค์โตหรือมเหสี
และพระสวามีจะครองราชย์แทนกษัตริย์องค์ก่อน
สงครามครูเสดมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาแต่ละศาสนา
จนทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
ถึงขั้นต้องทำสงครามเพื่อแย่งกันครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนั้นเหตุผลทางการเมืองก็เป็นอีกสาเหตุของสงครามด้วย
สงครามครูเสดได้คร่าชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาลและบางส่วนของความขัดแย้งเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันเติ้ง
เสียว ผิงบุรุษผู้นำจีน ที่พาชาติก้าวสู่เส้นทาง ''ทุนนิยม''และชาวจีนได้พบกับความ"ร่ำรวย"1 ศตวรรษแห่งบุรุษผู้นำ 'จีน' เติ้ง เสียว ผิง
ผู้นำจีนพาชาติก้าวสู่เส้นทาง 'ทุนนิยม'วลีเด็ดที่ผู้นำทั่วโลกยึดไปแนวทางปฏิบัติคือ
“ ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ
ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี ” คำกล่าวของท่านเติ้ง เสียว ผิง
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
Positioning Magazine ตุลาคม 2547
ข้าพเจ้า คือลูกชายของมวลชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน’ คำพูดเรียบง่ายแต่ตรึงใจ
สะท้อนถึงความเป็นลูกผู้ชาย ที่เปี่ยมล้นด้วยหัวใจรักชาติ ของอดีตผู้นำรุ่นที่ 2 เติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ.1904-1997)
ผู้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนในศตวรรษนี้ได้สัมผัสกับคำว่า
‘มั่งคั่งร่ำรวย’หนทางชีวิตนับตั้งแต่เข้าร่วมในสันนิบาติเยาวชนลัทธิคอมมิวนิสต์
จนได้เข้าร่วมในกองทัพแดง และในที่สุดก้าวขึ้นมายืนอยู่บนจุดสุดยอด
ของการเป็นผู้ชี้นำแนวทางการบริหารประเทศ ถึงแม้จะถูกบุคคลบางกลุ่ม ‘เล่นงาน’ จนต้องลงจากอำนาจไปหลายครั้ง
แมวเก้าชีวิตเติ้งเสี่ยวผิงก็ยังคงยืนหยัดในหลักการ
อันที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเป็นสังคมกินดีอยู่ดี วันที่ 22 สิงหาคม 2004 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน
ร่วมแสดงความรำลึกถึงบุรุษเหล็กแห่งศตวรรษ ผู้เป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวจีน
ในวาระสำคัญแห่งปีได้ ในคอลัมน์พิเศษ ‘ครบรอบร้อยปี เติ้งเสี่ยวผิง(ค.ศ.1904-2004)ตามตัวหนังสือแล้ว
ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบ "สังคมนิยม"
แต่ในความเป็นจริงแล้ว จีนได้เหยียบย่างเข้าสู่เส้นทางแห่ง "ทุนนิยม"
มาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 70
คงไม่เกินเลยไปถ้าหากกล่าวว่า เหมาเจ๋อตง คือ
บิดาผู้ปลดปล่อยชาวจีนและประเทศจีนทั้งมวลแล้ว เติ้งเสี่ยวผิง ก็คือ
บิดาผู้นำจีนเดินหน้ามุ่งสู่การสร้างความมั่งคั่ง นอกจากวลีเด็ดที่มีใจความว่า
"ไม่สนใจว่าแมวดำหรือขาว ขอให้จับหนูให้ได้เป็นพอ"
หากไม่มีเติ้งสี่ยวผิง จีนก็อาจจะไม่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เซินเจิ้น ซัวเถา จูไห่
เซี่ยเหมิน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าหนึ่งประเทศสองระบบ (One Country Two
Systems) ไม่มีเมืองมหานครตึกระฟ้าอย่างปักกิ่ง
เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ถ่างกว้าง
ไม่มีโอลิมปิกที่ปักกิ่งในปี 2008 ไม่มี KFC McDonald's ไม่มีทุนนิยมในฮ่องกง
ไม่มีชาวต่างชาติที่หลั่งไหลเดินทางมายังจีน ฯลฯ วันที่ 22 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา คือวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่
100
ของเติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ. 1904-1997) โดยทั่วแผ่นดินจีนมีการจัดงานเฉลิมฉลอง-นิทรรศการ
เพื่อรำลึกถึงเขา ชาวจีนต่างสรรเสริญเชิดชูเติ้งเสี่ยวผิงว่า เป็น ‘ผู้นำที่ประเสริฐยิ่ง’ โดยมีความเป็นอัจฉริยะบุรุษทั้งในฐานะ ‘นักทฤษฎีลัทธิมาร์กซิสม์’ ‘นักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพที่ยิ่งใหญ่’
‘นักปกครอง’
‘นักการทหาร’
‘นักการต่างประเทศ’
และ
‘สถาปนิกใหญ่ผู้ออกแบบความทันสมัยให้ชาติและปฏิรูประบบสังคมนิยมจีน’คุณูปการอันยิ่งใหญ่ของเติ้งเสี่ยวผิงที่อุทิศเพื่อแผ่นดินมังกรนั้น
มีอยู่ 2
ด้านหลักๆ
ประการแรก คือสรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคสาธารณรัฐ
และแก้ไขก้าวย่างที่พลาดพลั้งจากการปฏิวัติวัฒนธรรม
วิพากษ์แนวคิดและฐานะทางประวัติศาสตร์ของท่านประธานเหมาเจ๋อตงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ประการที่สอง
คือสร้างแนวคิดสังคมนิยมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีน(ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง) เป็นผู้ออกแบบนโยบายปฏิรูปที่นำพาประเทศสู่ความเป็นสังคมนิยมอันทันสมัยภูมิความคิดของเติ้งเสี่ยวผิง
รัฐบุรุษผู้มีชีวิตปฏิวัติโชกโชนตลอด 70 ปี จึงควรค่าแก่การเรียนรู้และเข้าใจ
***********************************************************
(ปู้ก่วนไป๋เมาเฮยเมา, ฮุ่ยจัวเหลาสู่จิ้วซื่อห่าวเมา)
“ ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี ”
ประโยคยอดนิยมของท่านผู้นำเติ้งที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดีนี้
ท่านได้กล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1962 ซึ่งขณะนั้น
จีนกำลังประสบกับปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
และบรรดาผู้บริหารของประเทศต่างระดมความคิดเพื่อแก้วิกฤติที่เกิดขึ้นทัศนะของเติ้งขณะนั้นคือ
“ในการจะฟื้นคืนอุตสาหกรรมเกษตร
มวลชนจำนวนมากเรียกร้องขอได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินของตนเอง
และผลการสำรวจยังได้สนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งในช่วงระยะก้าวผ่านของแต่ละยุคสมัย
หากวิธีการใดเป็นผลดีแก่อุตสาหกรรมการเกษตร ก็ให้ใช้วิธีการนั้น กล่าวคือ
ควรยึดแนวทางการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ไม่ใช่คิดหรือปฏิบัติกันอย่างสูตรตายตัว”
************************************************************
(เจี่ยฟ่างซือเสี่ยง, สือซื่อฉิวซื่อ)
“ ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง ”
ในบรรดาทฤษฎีด้านสังคมนิยมแบบฉบับจีนของเติ้งเสี่ยวผิง “การปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง”
ถือเป็นแก่นแกนความคิดสูงสุด
ที่สะท้อนทัศนะการพัฒนาและปรัชญาองค์รวมของเติ้งการจะนำพาประเทศจีนสู่ความทันสมัยนั้น
เติ้งมองว่า ต้องก่อเกิดจากความคิดที่ทันสมัยก่อน
นั้นคือต้องคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาสตร์
เคารพกฎแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง
ตลอดจนยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่เป็นจริงเชิงปฏิบัติ เป็นไปอย่างรอบด้าน
และมีความเป็นมหาชน
รัฐบุรุษเติ้งยังเห็นว่า เนื่องจากจีนปิดประเทศไปนาน
บวกกับความบอบช้ำภายในจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนั้น
ยิ่งความคิดถูกปลดปล่อยจากพันธนาการต่างๆ มากเท่าไร
การปฏิรูปประเทศก็จะยิ่งก้าวหน้ามากเท่านั้น การเพิ่มกำลังการผลิตของชาติ
จำเป็นต้องอาศัยนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง บนแนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริง
ดังคำกล่าวของจีนที่ว่า ‘การปฏิบัติคือมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่จะทดสอบสัจธรรม’สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (อังกฤษ: United
Nations หรือ
UN)
เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) มีสมาชิก 191 ประเทศ (เกือบทุกประเทศในโลก)
สหประชาชาติเปิดรับสมาชิกที่เป็น "ประเทศรักสันติ"
ซึ่งยอมรับพันธกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติ ยอมรับในมติขององค์การ
สามารถและปรารถนาที่จะให้พันธกรณีเหล่านั้นบรรลุผล
สมัชชาใหญ่เป็นผู้รับรองการเป็นสมาชิกโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง
สำนักงานใหญ่สหประชาชาติตั้งอยู่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (ดู
สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ)แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์
ตั้งชื่อองค์การนี้โดยหมายถึงสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
ใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในการลงนามปฏิญญาสหประชาชาติ ค.ศ. 1942 เพื่อทำให้สัมพันธมิตรยึดในหลักของกฎบัตรแอตแลนติก
และสัญญาว่าจะไม่แยกไปเจรจาสันติภาพกับกองกำลังอักษะ
เดิมสหประชาชาติใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า United Nations Organization หรือ UNO แต่เปลี่ยนไปใช้ United Nations
หรือ
UN นับจากทศวรรษ
1950
ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 องค์กรหลัก ได้แก่:
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN
General Assembly)
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN
Security Council)
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
(UN Economic and Social Council)
คณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ (UN
Trusteeship Council)
สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (UN
Secretariat)
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International
Court of Justice)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น