ศึกษาแนวคิด หลักการ เกี่ยวกับระบบสมรรถนะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ให้ข้อมูลกับคณะที่ปรึกษาฯ หรือคณะทำงานในการกำหนดสมรรถนะองค์กร สมรรถนะหลัก และสมรรถนะตามสายวิชาชีพ (Core & Functional Competency)
ร่วมจัดทำการเทียบวัดสมรรถนะหรือมาตรฐานของความสามารถของผู้ดำรงตำแหน่ง (Job competency Mapping) ของผู้ใต้บังคับบัญชา
ประเมินสมรรถนะของตนเองและสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
ร่วมกำหนดแนวทางในการนำระบบสมรรถนะไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้าน ต่างๆ เช่น การสรรหาและคัดเลือก...
วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ขั้นตอนการกำหนดและพัฒนาระบบสมรรถนะ (Competency Development Model)

Competency Development Model
การกำหนดและพัฒนาระบบสมรรถนะขององค์กร ทำได้หลายวิธี เช่น ว่าจ้างที่ปรึกษา ให้มาช่วยดำเนินการจัดทำระบบสมรรถนะ หรือแต่งตั้งคณะทำงานภายในขึ้นมาศึกษาและ ร่วมกันพัฒนาก็ได้ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน ในที่นี้จะขอนำเสนอขั้นตอนการกำหนด และพัฒนาระบบสมรรถนะที่เป็นรูปธรรม...
ประเภทของสมรรถนะในการทำงาน
1. สมรรถนะหลัก (Core Competency: CC) หมายถึงทักษะ และคุณลักษณะที่ทุก คนในองค์กรจำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะ หลักประกอบไปด้วย
รหัส ชื่อสมรรถนะหลัก
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation-ACH)
บริการที่ดี (Service Mind-SERV)
ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork-TW)
จริยธรรม (Integrity-ING)
การสั่งสมความชำนาญในงานอาชีพ (Expertise-EXP)
2. สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency: FC) หมายถึง...
การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment)
การประเมินสมรรถนะ (Competency Assessment) หมายถึง กระบวนการในการประเมิน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพฤติกรรมการทำงานของบุคคลในขณะนั้นเปรียบเทียบกับระดับ สมรรถนะที่องค์กรคาดหวังในตำแหน่งงานนั้นๆ ว่าได้ตามที่คาดหวังหรือมีความแตกต่างกันมาก น้อยเพียงใดการประเมินสมรรถนะควรมีลักษณะ ดังนี้
ประเมินอย่างเป็นระบบ (Systematic)
มีวัตถุประสงค์ในการประเมินอย่างชัดเจน (Objective)
เป็นกระบวนการที่สามารถวัดประเมินได้ (Measurable)
เครื่องมือมีความเที่ยง (Validity)...
บทบาทและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ในขบวนการจัดทำระบบสมรรถนะในการทำงาน ขั้นตอนการกำหนดสมรรถนะ มาตรฐานและการประเมินสมรรถนะของพนักงาน เป็นขั้นตอนที่ยากและละเอียดอ่อนที่สุด ใน ขั้นตอนนี้จะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมืออันดีจากผู้บังคับบัญชาและ ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยทั้งสองฝ่ายมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หมายถึง ผู้ประเมิน มีบทบาทและหน้าที่ในการ
วิเคราะห์หน้าที่และผลที่ดาดหวังของตำแหน่งงาน
กำหนดว่าสมรรถนะอะไรที่จำเป็นในการทำงานบ้าง ต้องมีอยู่ในระดับ...
สมรรถนะในการทำงาน
ระบบสมรรถนะในการทำงาน (Competency Model) เป็นเครื่องมือบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารทุกระดับสามารถนำมาใช้ในการ สรรหา รักษา และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถและบุคลิกลักษณะเฉพาะตรงตามที่ ตำแหน่งกำหนด เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามผลตามที่คาดหวังไว้
สมรรถนะในการทำงาน (Competency) หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ (Knowledge, Skills, Personal Attribute) ของบุคคลที่จำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้
ความรู้ (Knowledge)...
ประโยชน์ของการนำระบบสมรรถนะไปใช้ภายในองค์กร
การนำระบบสมรรถนะไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรมีประโยชน์ต่อบุคลากร ผู้บริหาร หน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้
บุคลากร (Operators)
ช่วยให้บุคลากรทราบถึงระดับสมรรถนะของตนเอง (ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ) ว่าอยู่ในระดับใด มีจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องใดบ้าง และจะต้องพัฒนาสมรรถนะในเรื่องใดบ้าง
ช่วยให้บุคลากรทราบกรอบพฤติกรรมมาตรฐาน หรือพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวังให้ตน แสดงพฤติกรรมในตำแหน่งนั้นอย่างไรบ้าง และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลความรู้...
ความหมายของสมรรถนะ
David C. McClelland (1970) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “สมรรถนะ หมายถึงคุณลักษณะ ที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลสามารถสร้างผลการ ปฏิบัติงานในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่า หรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้
Boyatzis (1982) กล่าวว่า “สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐาน (Underlying Characteristic) ของบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจ (Motive) อุปนิสัย (Trait) ทักษะ(Skill) จินตภาพส่วนตน (Self-Image) หรือบทบาททางสังคม...
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ความหมายขององค์การ
องค์กร ( organization) หมายถึง บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์การที่แสวงหาผลกำไรคือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์การที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก...
เหมา เจ๋อ ตุง

(Mao Tse-tung 1893 – 1976)
เหมา เจ๋อ ตง หรือ เหมา เจ๋อ ตุง เกิดที่มณฑลหูหนาน จบการศึกษาจากวิทยาลัยฝึกหัดครู ก่อนจะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากถูกปราบปรามโดยนายพลเจียงไคเชก เหมาได้ขึ้นมาเป็นประธานของคณะโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ชนะสงครามกลางเมืองจีน...
วลาดิมีร์ เลนิน

(Vladimir Lenin 1870-1924)
ชื่อจริงของเขา คือ วลาดิมีร์ อีลิช ยูเลียนอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov) เกิดที่เมืองเซมเบิร์ซก์ของรัสเซีย เขาได้ศึกษากฎหมายและงานเขียนของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นคนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ที่สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1922 เป็นหัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรก และเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน...
คาร์ล มาร์กซ์

(Karl Marx 1818 – 1883)
มาร์กซ์ เกิดที่ประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ. 1818 ในตระกูลชนชั้นกลางเชื้อสายเยอรมันยิว สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา เมื่อ ค.ศ. 1841 จากมหาวิทยาลัยจีนา หลังจบการศึกษา เขาได้ยึดอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติต่าง...