วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดของ ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] กับบางเสี้ยวแห่งวิกฤตการเมืองไทย



ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง นักประพันธ์เพลงที่ฝึกฝนด้วยตัวเองแห่งยุคแสงสว่างและเป็นนักปรัชญาสังคมชาวสวิส เชื้อสายฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส [French Revolution] ใน คศ.1789 รุสโซ เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2255 มารดาของเขาเสีย ชีวิตหลังจากคลอดเขาได้เพียง 9 วัน บิดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนรุสโซ อายุ 6 ขวบ พ่อของเขาได้ติดคุก เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับลุง รุสโซหัดอ่านหนังสือมา ตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนรุสโซ อายุ 16 ปี ได้ออกจากเจนีวา เดินทางท่องเที่ยวและได้หางานทำไป เรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี พศ.2293
 The Social Contract, or Principles of Political of political Right เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้าง ชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก อีก 11 ปี ต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกชื่อ Julie,ou la nouvelle Holoise [The New Heloise] จากนั้นก็ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่และ The Confessions of Jean-Jacques 

Rousseau รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดีแต่สังคมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว แปดเปื้อน และมนุษย์ มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัดแต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางส่วนโดยการทำสัญญาประชาคม (The social Contract ) เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกันและกัน รุสโซกล่าวว่า “ มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพแต่ทุกหนทุกแห่ง เขาต้องตกอยู่ในเครื่องพันธนาการ “ ความคิดของรุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 2332 อย่างมาก และได้พัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม (Socialist theory)และมีส่วนสำคัญของการพัฒนาการทางแนวคิด โรแมนติก (Romanticism)


แนวคิดโดยย่อ


ปรัชญาของรุสโซ
รุสโซสอนให้คนกลับไปหาธรรมชาติ (Back to Nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่าธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้เป็นคนเลว“ และ "เหตุผลมีประโยชน์แต่มิใช่คำตอบของชีวิต มนุษย์จึงควรต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของตนเองให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติหรือเป็นคนเถื่อนใจธรรม (Nobel Savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (เป็นสภาวะเดียวกับสัตว์ อื่นๆและเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรมและสังคม) แต่กลับถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคมโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมเป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ โดยรุสโซได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น แต่กลับทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน กล่าวคือพัฒนาการเชิงวัตถุจะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค
ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงสมัยใหม่ รุสโซ่เสนอว่ามนุษย์ ในยุคแรกสุดเป็นมนุษย์ครึ่งลิงซึ่งอยู่แยกจากกัน โดยมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ตรงที่มนุษย์มีความต้องการอย่างอิสระ (Free will)และแสวงหาความสมบุรณ์แบบ ซึ่งมนุษย์ในยุคบุกเบิกจะมีความต้องการพื้นฐานเพื่อดูแลตนเอง ขณะที่เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นความรู้สึกห่วงหาอาทรและความสงสารจะเกิดขึ้นตามมาซึ่งเรียกว่าเป็นการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา กล่าวคือมีการให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของผู้อื่น โดยรุสโซเรียกความรู้สึกใหม่ี่ที่เกิดขึ้นว่า "จุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์"

สาระของแนวคิด

รุสโซกล่าวว่า มนุษย์เกิดมาเสรีแต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ "เป็นการตกผลึกทางความคิดของรุสโซ ที่ได้ก่อตัวขึ้นก่อนหน้านี้ และงานเขียนชิ้นสำคัญของรุสโซ ก่อน Social Contract คือ Discourse on the Origin and the Foundations of Inequality Among Men หรือเรียกว่า The Second Discourse ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาThe Second Discourse ก่อน
The Second Discourse เป็นบทความที่รุสโซ เขียนเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือมนุษย์ดำเนินชีวิตด้วยการเป็นผู้กระทำที่เสรี แต่สัตว์เลือกหรือปฏิเสธจากสัญชาตญาณ แต่มนุษย์กระทำด้วยเสรีภาพ ตัวอย่างเช่นการที่ธรรมชาติบังคับควบคุมสัตว์ทุกชนิดโดยสัตว์ทั้งหลายต้องเชื่อฟัง มนุษย์เองรู้สึกถึงแรงกระตุ้นดังกล่าวเช่นกัน แต่มนุษย์ตระหนักดีว่า ตัวเขาเองนั้นมีเสรีภาพที่จะ นิ่งเฉยหรือต่อต้าน(ธรรมชาติ) ในจิตสำนึกแห่งเสรีภาพนี้ จิตวิญญาณของเขาได้แสดงออกมาซึ่งเป็นการกระทำของ จิตวิญญาณอันบริสุทธ์ นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีความสามารถในการทำตัวเองให้สมบูรณ์ (The faculty of self-perfection) อันเป็นคุณสมบัติของความสามารถที่พัฒนาคุณสมบัติอื่นๆทั้งหมดอย่างเป็นผลสำเร็จด้วยเงื่อนไขที่เอื้ออำนวย โดยได้นำมาซึ่งการเบ่งบานของปัญญาความรู้และข้อผิดพลาด ความชั่วและคุณธรรมความดี และจากคุณสมบัตินี้ในระยะยาวเป็นตัวทำให้เขาเป็นทรราชย์
คนป่า (Savage man)โดยธรรมชาติ ย่อมเริ่มต้นจากการกระทำแบบสัตว์แท้ๆ ที่กระทำตามสัญชาตญาณ หรือชดเชยสัญชาตญาณที่เขาไม่มีด้วยคุณสมบัติที่ทดแทนกันได้ตั้งแต่แรก และจากนั้นก็ยกระดับให้อยู่เหนือธรรมชาติ การรับรู้และความรู้สึก คือสภาวะแรกซึ่งมีร่วมกับสัตว์ทั้งมวลเจตจำนงมุ่งมั่นหรือไม่ ปรารถนาหรือกลัว ซึ่งก็คือการกระทำอย่างแรกและเหนืออื่นใดของจิตของเขาจนกระทั่งเงื่อนไขใหม่ได้ก่อให้เกิดพัฒนาการใหม่ในตัวของมันเอง
การตีความสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ รุสโซจินตนาการสภาวะธรรมชาติหรือสภาวะแรกเริ่มของมนุษย์ว่า มนุษย์อยู่กันอย่างอิสระจากกันและกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆระหว่างกัน มิได้ต้องพึ่งพากันและกันไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดๆที่มนุษย์จะต้องมีปฏิ สัมพันธ์กัน เพื่อการอยู่รอด มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตของตัวเอง ไปได้ สาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตได้ดดยลำพังก็เพราะมนุษย์สามารถตอบสนองความ ต้องการของตัวเองได้ และสาเหตุที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตโดยลำพังก็เพราะความต้องการของมนุษย์ใน สภาวะแรกเริ่มนั้น มีไม่มากนักและไม่สลับซับซ้อน เพราะรุสโซเชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์ในสภาวะแรกเริ่มจะจำกัดอยู่เพียงความต้องการทางชีวภาพ เท่านั้น นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช โดยดูจากลักษณะของฟันและอวัยวะร่างกายของมนุษย์ที่ไม่เอื้อในการล่าสัตว์ และไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุที่สภาพธรรมชาติของโลก ในระยะแรกเริ่ม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้โดยไม่ต้องมีปฏิ สัมพันธ์กัน เพราะรุสโซ เชื่อว่า เมื่อมนุษย์แต่ละคนสามารถตอบสนองความต้องการของตัว เองอย่างพอเพียงแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องไปปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่น

รุสโซเชื่อว่าในสภาวะแรกเริ่มหรือสภาวะธรรมชาติความต้องการทางเพศของมนุษย์เกิดจากแรงขับทางชีวภาพ และมีระยะเวลาที่แน่นอนจำกัด ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อมนุษย์ต่างเพศมาพบเจอกันต่างก็จำต้องสนองตอบความต้องการทางเพศของกันและกัน และเมื่อเพียงพอแล้วต่างก็แยกย้ายจากกันไปดำเนินชีวิตอย่างอิสระตามปกติเหมือนเดิมในสภาวะธรรมชาติต่อไป มิต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์ไม่จำเป็นต้องสะสมอาหารหรือของบริโภคใดๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้องเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของคู่นอนที่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน เขาจึงไม่มีความจำเป็นต้องหวงแหนริษยาหรือมุ่งมั่นที่จะได้หรือรักษาคู่นอนของเขา หรือแย่งชิงคู่นอนของคนอื่นมาไว้เป็นสมบัติส่วนตัว
ด้วยเหตุนี้ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงเรียบง่ายไม่มีความขัดแย้งต่อกัน แต่กระนั้นมนุษย์ก็ยังดำเนินชีวิตอันดิบเถื่อนไร้อารยธรรมไม่แตกต่างจากสัตว์ รุสโซ ขนานนามว่า เป็น “ คนป่าผู้ทรงเกียรติ “ (noble savage) คือเป็นคนป่าเถื่อน เนื่องจากเขาดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ นอนกับดินกินกับทราย และเป็นผู้ทรงเกียรติ เพราะมีจิตใจดีบริสุทธ์ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่มีความต้องการอันไม่เคยพอ ไม่มีความอิจฉาริษยามุ่งร้ายต่อกัน ดังนั้นมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึงดำเนินชีวิตเยี่ยงคนป่าผู้ทรงเกียรติ และเป็นเสรีชนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในเงื่อนไขที่แต่ละคนไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆต่อกัน

อิสรเสรีของมนุษย์ผู้หญิงในสภาวะธรรมชาติ

รุสโซอธิบายว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์เพศหญิงให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ผู้ชาย อีกทั้งยังตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้เองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ชายอีกด้วย ดังนั้นผู้หญิงในสภาวะธรรมชาตินั้นมีความอดทนและมีความสามารถดูแลตัวเองได้โดยลำพัง หลังจากนั้นนางจะเลี้ยงดูบุตรไปอีกระยะหนึ่งและจะดูแลเด็กอีกไม่นานเพราะเด็กสามารถดูแลตัวเองได้เร็วกว่าเด็กที่เติบโตมาจากสังคมที่เจริญแล้ว ในที่สุดเด็กก็จะจากแม่ไปเองมีชีวิตอิสระตามลำพังด้วยตัวเอง แม้ว่าถ้ามีโอกาสได้พบเจอลูกผู้ให้กำเนิด นางก็ไม่สามารถจำกันแลกันได้เป็นเหมือนคนแปลกหน้า

อารมณ์ความรู้สึกกับการกำเนิดชีวิตครอบครัว

รุสโซเชื่อว่าการเกิดขึ้นของครอบครัวมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของความบังเอิญ และอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเหตุผลสำคัญอื่นใดแฝงไว้ โดยบรรยายไว้ว่าในช่วงฤดูสืบพันธ์ของมนุษย์อาจมีบางครั้งบางคราวที่มนุษย์ เพศชายและหญิงจำเป็นต้องอยู่ด้วยกันนานกว่าปกติ ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่หวานชื่นที่สุดต่อกันและกันทำให้ทั้งสองมีความรู้สึกว่าการอยู่ร่วมกันนั้น ให้ความอบอุ่นและความรู้สึกที่ดีที่ผูกพันกว่าการแยกจากกันไปเฉยๆ ดังนั้นเขาทั้งสองจึงเลือกที่จะอยู่ด้วยกันต่อไป จึงเกิดเป็นครอบครัวของมนุษย์

ในความคิดของรุสโซนั้นเกิดจากความบังเอิญและเสรีภาพในการที่จะเลือกทำเช่นนั้น อันเป็นการกระทำที่เสรี ซึ่งได้เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติของมนุษย์ตามที่ได้เกิดมา คือเขาทั้งสองนั้นมิได้มีอิสรเสรีสมบูรณ์เหมือนดังเดิม กลับมีความรู้สึกผูกพันต่อกันและกัน ซึ่งถือว่าเป็นบ่อเกิดแห่งพันธนาการของมนุษย์ซึ่งความผูกพัน ดังกล่าว ทำให้มนุษย์อ่อนแอลง เพราะมนุษย์มีห่วงใยกังวล ไม่สามารถตัดสินใจดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระโดยลำพัง เหมือนเช่นเดิม เมื่ออิสรเสรีภาพของมนุษย์สุญหายลดทอนลง แต่เขาได้มาซึ่งความสุข ความอบอุ่น และความผูกพันทางอารมณ์และจิตใจ จากเริ่มต้นที่เป็น “มนุษย์เกิดมาเสรีแต่บัดนี้ เขาเริ่มเข้าสู่ พันธนาการ” จาก การตัดสินใจโดยเสรีที่เลือกมาอยู่ร่วมกัน จึงได้เกิดการแบ่งงานกันทำอันเป็นผลมาจากพันธนาการ ของกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์พัฒนาความเป็นอยู่ของตนมีเวลาคิดสร้าง สรรค์สิ่งต่างๆ นับว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาติ จากสภาพคนป่าที่ดำเนินชีวิตเยี่ยงสัตว์ พัฒนาเป้นการอยู่กินเป็นครอบครัว แต่กระนั้น เค้าลางของการสูญเสียการเป็น ผู้ทรงเกียรติ” ก็ เริ่มต้นขึ้น ซึ่งเกิดจากความหวงแหนคู่ของตน และอารมณ์ความรู้สึกทางจิตใจอื่นๆที่ตามมาเขาไม่ สามารถรู้สึกผูกพันคู่นอนเพียงเท่าที่เขาผูกพันกับผลไม้ที่เขากินได้อีกต่อไปได้แล้ว และอารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ ที่รุสโซ เรียกว่า “ Sweetest Sentiment”

กำเนิดสังคม

รุสโซอธิบายการกำเนิดสังคมว่ามีสาเหตุมาจากการเกิดและการขยายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปฏิ สัมพันธ์ระหว่างครอบครัวก็บังเกิดขึ้น รุสโซ ชี้ถึงปัจจัยสำคัญคือ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความ รักแบบโรแมนติก เขาเน้นถึงบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจที่มีต่อการก่อตัวของสังคมเมือง (civil –Society) ดังที่กล่าวไว้ว่าคน แรกที่กั้นรั้วแผ่นดินคือผู้เริ่มสังคมเมืองที่แท้จริง” การคิดค้นการเกษตรกรรมที่นำไปสู่การสร้าง กฎ กติกา เพื่อความยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และในที่สุดแล้ว ด้วยการแนะนำของผู้มั่งคั่ง (the rich) ก็จะนำไปสู่การสถาปนาการเมืองการปกครองขึ้นมาหมายความว่าการเกิดการปกครองขึ้นมานั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าปราศจาก เงื่อนไขของการเกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวในที่ดิน มาก่อนหน้า และแท้ที่จริงแล้ว พัฒนาการการเกษตรที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลพวงมาจากการเกิดครอบครัวก่อนหน้านี้ แต่กระนั้น ก็เสนอด้วยว่า “เศรษฐกิจการเกษตรในตัวของมันเอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองพัฒนาการของความ ต้องการทางเพศ (erotic developments) เรื่อง เพศ (sexuality) คือสะพานนำไปสู่การเมือง โดยมีนัยของการเปลี่ยนแปลงเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์เป็นปัจจัย เงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่งในการกำเนิดสังคมการเมือง รุสโซ อธิบาย ความขัดแย้ง ความไร้ระเบียบ (disorder) ที่อุบัติขึ้นเมื่อสังคมได้ถือกำเนิดไว้ดังนี้คือความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะของมนุษย์ในสังคมไม่เอื้ออำนวย หรือไม่เหมาะสมกับพวกเขา ความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมนุษย์มองมนุษย์ด้วยกันว่า เป็นศัตรูที่แข่งขันกับพวกเขา เพื่อความโดดเด่นหรือเพื่อความเหนือกว่า หรือเพื่อสิ่งที่พึงปรารถนา และสุดท้ายความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ภายในปัจเจก-บุคคล เมื่อจิตใจของเขาตกอยู่ภายใต้พันธนาการของกิเลสตัณหาอันไม่มีขีดจำกัด อารยธรรมหรือความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการนี้ทำให้ศีลธรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์เสื่อมทรามลงเสียมากกว่าที่จะทำให้ดีขึ้น เมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสของศิลปะวิทยาการ เสรีภาพที่เคยมีและเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ก็ได้สูญหายไป
ด้วยเหตุนี้เองที่รุสโซ ได้กล่าวขึ้นต้นใน The Social Contract ไว้ว่า “ มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ในพันธนาการ ใครที่คิดว่าตนเป็นนายคนอื่น ย่อมไม่วายจะกลับเป็นเสียทาสยิ่งกว่า" ความผันแปรเช่นนี้เกิด ขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบ อะไรเล่าที่จะพึงทำให้ความผันแปรนั้นกลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฏหมาย ข้อนี้คิดว่าจะตอบปัญหาได้เพราะในสภาวะสังคมมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดระเบียบเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เหยียบหัว แย่งชิง หลอกลวง ทรยศ และทำลายซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมเขาเสนอให้มีการสร้าง หรือการจัดระเบียบสังคมใหม่ขึ้นมา นั่นคือเราจะทำอย่างไรที่จะหารูปแบบของการอยู่ร่วมกันที่ สามารถปกป้องบุคคล และสิ่งที่พึงปรารถนาของสมาชิกแต่ละคนในสังคม โดยการร่วมพลังของทุกคน และเป็นรูปแบบการอยู่ร่วมกันที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน แม้ว่าจะรวมตัวเข้ากันกับคนอื่น แต่ก็มิได้ต้อง เชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเอง และยังคงมีอิสรเสรีเหมือนแต่ก่อน คำตอบนั้นคือ “สัญญาประชาคม “ (Social Contract ) คือคำตอบสำหรับการหลุดจากสภาวะอันไม่อำนวยต่อการดำรงชีวิตความเป็นมนุษย์มาทำสัญญาร่วมกัน หมายถึงการยอมเสียเสรีภาพตามธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของ เขาเพื่อแลกกับเสรีภาพทางสังคมการเมือง รุสโซ กล่าวว่า แก่นของสัญญาประชาคม คือการที่พวกเราแต่ละคนยอมสละตัวเอง และอำนาจหน้าที่ ที่เขามีอยู่ทั้งหมดให้กับส่วนรวม ภายใต้การนำสูงสุดของ“ เจตจำนงร่วม “ และ ในฐานะองค์รวม เราได้รวมสมาชิกทุกคนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทั้ง หมดที่แบ่งแยกไม่ได้ อันประกอบด้วยจำนวนสมาชิกที่มีจำนวนเท่ากับผู้ออกเสียงในที่ประชุมซึ่งทำให้ องค์รวม ดังกล่าวมีชีวิต มีเจตจำนง มีตัวตน และมีเอกภาพ ของตัวเองขึ้นมา องค์รวมทางการเมืองหรือ บุคคลสาธารณะที่ก่อตัวขึ้นนี้ คือสังคมเมือง หรือสาธารณรัฐ และในสถานะที่เป็นผู้ถูกกระทำซึ่งเรียกว่ารัฐ แต่ถ้าอยู่ในสถานะ ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า องค์อธิปัตย์ (the sovereign) และเมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์อธิปัต ย์ด้วยกัน เราเรียกว่า อำนาจ (power)และสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ เรียกว่า“ ประชาชน “ และเรียกว่า “ พลเมือง “ ตราบเท่าที่พวกเขามีส่วนร่วมในอำนาจอธิปไตย และเรียกพวกเขาว่า“ ราษฎร “ ตราบเท่าที่พวกเขาอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ

รุสโซกับโลกปัจจุบัน

ในเรื่องมิติแห่งเวลารุสโซ ไม่เชื่อว่าสังคมจะสามารถย้อนเวลากลับไปสู่สภาวะอันเปล่าเปลือยเหมือนเช่นตอนแรกเริ่มได้อีกและที่สำคัญรุสโซเชื่อในความสามารถในการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ 


ดังนั้นเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ย่อมต้องเดินหน้าต่อไปมากกว่าที่จะถอยหลังมนุษย์และเจตจำนงเสรีในตัวเขาย่อมจะช่วยให้เขาก้าวเดินต่อไป และ รุสโซ เชื่อว่า มนุษย์สามารถคิดค้นและออกแบบสร้างสรรค์ “ เจตจำนงทั่วไป “ อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ในการสร้างระเบียบใหม่ให้กับสังคมที่ไร้ระเบียบที่มิได้เป็นผลผลิตของธรรมชาติที่มีระเบียบของมันเอง ที่ครั้งหนึ่งมนุษย์อาจเคยอยู่กับมันมานานแล้ว และไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนไปได้จะทำได้เพียงแค่จินตนาการ

แนวคิดที่สำคัญของรุสโซ

1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่า นั้น ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.การ เป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ แนวคิดนี้ของรุสโซ แตกต่างกับ โทมัส ฮ๊อบส์ กล่าวว่า สันติภาพ หรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น แต่รุสโซ กล่าวว่าสันติภาพ และความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพจึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก
4.สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง เจตจำนงทั่วไป ของประชาชน
8.การ เลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ เห็นว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวคิดรุสโซ เป็นแนวคิดการปกครองแบบตรง ที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมี ประชากรเป็นจำนวนมาก และในลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยโดย ตัวแทน ทั้งหมด

ข้อความที่ว่า “ มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในพันธนาการ “ นั่นคือการตก ผลึกทางความคิด
รุสโซ ก่อนหน้างานเขียนชิ้นสำคัญ ก่อน “ Social Contract “ ก็คือ “ The Second Discourse “
จากเริ่มต้นที่ มนุษย์เกิดมาเสรี มีอิสรเสรีภาพ ภายใต้สภาวะธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติจึง
เรียบ ง่าย ไม่มีความขัดแย้ง แต่เมื่อมนุษย์ตัดสินใจโดยเสรี ไม่มีใครมาบังคับ และเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นคู่หลายๆ คู่ก็เป็นสังคมจนกลายเป็นรัฐ มีการแบ่งงานกันทำ อันเป็นผลมาจากการที่มี พันธนาการต่อกันและกัน ซึ่งเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ พัฒนาความเป็นอยู่ของตัวเอง มีเวลาสร้างสรรค์คสิ่งต่างๆ นั่นคือก้าวแรกของการ พัฒนาไปสู่การมีอารยธรรมของมนุษยชาตินั่นเอง

แนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้หรือนำมาใช้ในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ของไทย

ความจริงที่ว่ารุสโซคือต้นแบบประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันตามที่นักวิชาการ นักการเมืองบางท่านได้กล่าวอ้างขึ้นมาเพื่อรองรับความชอบธรรมทางการเมืองของตนเอง การที่รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศทำหน้าที่ในการบริหารราชการของประเทศนั้นย่อมมีอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยสมบูรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลควรจะปล่อยให้ภาคประชาชนได้มีสิทธิเสรีภาพ ในการที่จะแสดงออกทางความคิดเห็นอย่างเสรี ที่จะเห็นด้วย สนับสนุน หรือต่อต้าน คัดค้าน การทำหน้าที่บริหารของรัฐบาล แต่ภาคประชาชน ต้องกระทำภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งได้มีบทบัญญัติไว้หน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่มีแค่ บริหารบ้านเมือง ใช้งบประมาณแผ่นดิน และบังคับใช้กฎหมายเท่านั้นแต่ รัฐบาลจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริม สนันสนุน เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในทางการเมืองของ ภาคประชาชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พร้อมไปกับพรรคการเมือง ซึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วแต่รัฐบาลจะ ต้องคอยดูแล คอยกำกับ คอยปกกัน ภาคประชาชนไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตที่กำหนด ไว้ภายใต้กฎหมายโดยไม่ให้ไปกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือความมั่นคงของประเทศตัวอย่างเช่น

กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 นับว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการใช้สิทธิเสรีภาพของภาคประชาชนที่เกินขอบเขต ถ้ารัฐบาลไม่ยอมตัดสินใจทำอะไรหรือมีมาตรการอะไรที่จะดำเนินการกับภาคประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินขอบเขตที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมาย เช่นนี้ ถือว่ารัฐบาลส่งเสริมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย สังคม ประเทศชาติจะวุ่นวาย กระทบกระเทือนไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์ภายในประเทศไทย แต่การปิดสนามบินแห่งชาติแห่ง ได้ส่งผลกระทบถึงประเทศอื่นในภุมิภาคอาเซี่ยน ในที่สุดรัฐบาลก็จะเสื่อมอำนาจ และหมดอำนาจไปในที่สุดเพราะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ไม่มีคน คนเชื่อฟัง ทำตามคำสั่งของรัฐบาล ทำให้เกิด “ อนาธิปไตย “ ขึ้นได้
*ฉะนั้นการบริหารปกครองบ้านเมืองของรัฐบาลจำเป็นต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางส่วนเพื่อความสงบสุขของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ แต่ต้องทำอย่างเหมาะสมและเท่าที่จำเป็นจริงๆ หากรัฐบาลนิ่งเฉยปล่อยให้กลุ่มคนมีเสรีภาพมากจนเกินขอบเขตไปจนไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นสาเหตุลุกลามใหญ่โต เกินแก้ไขได้ เกิดความวุ่นวายทุกหนแห่ง จนกลายเป็นเกิดการจลาจลและถึงขั้นกลายเป็น “ สงครามกลางเมืองอย่างแน่นอน


http://phatrasamon.blogspot.com/2009/03/jean-jacques-rousseau_14.html  บทความคัดลอก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปเข้ม ภาษาอังกฤษ O-NET + GAT

ติวเข้ม GAT วิชาภาษาอังกฤษ

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

ปรัชญาการเมืองของอาริสโตเติล